การสวนปัสสาวะ (Urinary catheterization) คืออะไร
เป็นที่ทราบกันดีว่า การสวนปัสสาวะสำหรับผู้ป่วยนั้น หมายถึง การสอดใส่สายสวนปัสสาวะที่เราเรียกว่า catheter ส่วนใหญ่แล้วผ่านทางท่อปัสสาวะเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะครับ ด้วยวิธีการที่ปราศจากเชื้อนะครับ เพื่อระบายปัสสาวะออกสู่ภายนอกโดยไม่ติดเชื่อ หรือทำให้กระเพาะปัสสาวะว่าง
ชนิดและวัตถุประสงค์ของการสวนปัสสาวะ
การสวนปัสสาวะมี 2 วิธีด้วนกันคือ
1. การสวนปัสสาวะแบบปล่อยหรือเรียกว่าการสวนเป็นครั้งคราว (Intermittent Catheterization)
2. การสวนปัสสาวะแบบคาสายหรือสวนค้างไว้ (Indwelling Catheterization or Retained Catheterization )
1. การสวนปัสสาวะแบบทิ้งหรือสวนเป็นครั้งคราวนั้น (intermittent catheterization ) ส่วนใหญ่แล้วใช้สายสวนปัสสาวะชนิดตรง ที่ทำด้วยยางแดง หรืออาจมีสีอื่นๆก็ได้ แต่โดยส่วนใหญ่แล้วสีแดงครับ ส่วนปลายข้างที่ใส่เข้าไปในกระเพาะปัสสาวะนั้น จะ มีลักษณะเป็นปลายมน มีตาเดียวนะครับ ภายในนั้นจะเป็นท่อกลวงท่อเดียวครับ ซึ่งใช้ส่วนปัสสาวะเป็นครั้งคราวนั้นเอง เฉพาะเวลาที่ปัสสาวะยากนั้นเองครับ
วัตถุประสงค์ของการสวนเป็นครั้งคราวหรือการสวนทิ้งนั้นมีดังต่อไปนี้ครับ
1. ใช้สำหรับผู้ป่วยไม่สามารถปัสสาวะได้เองครับ
2. เพื่อเก็บปัสสาวะส่งตรวจเพื่อตรวจเพื่อเพาะหาเชื้อในน้ำปัสสาวะ ( urine culture)
3. เพื่อต้องการตรวจวัด ปริมาณของปัสสาวะที่เหลือค้างในกระเพาะปัสสาวะ ครับ ( residual urine)
2. ส่วนการสวนปัสสาวะคาสายปัสสาวะนั้นหรือที่เรียกกันว่า indwelling catheterization or retained catheterization นั้น
ส่วนใหญ่แล้วจะใช้สายสวนปัสสาวะชนิดโฟเล่ย์ (Foley’s catheter) ครับมีสองชนิด แบบ ชนิด 2 ทาง หรือ 3 ทางครับ นั้นขึ้นอยู่กับว่า เพื่อวัตถุประสงค์อะไร
สายสวนปัสสาวะโฟเล่ย์ มีทั้งชนิด 2 ท าง 3 ท างนั้นมีดังต่อไปนี้ครับ
- ทางที่ 1 เป็นทางสำหรับระบายน้ำปัสสาวะออกครับ
- ส่วนท างที่ 2 นั้นเป็นทางสำหรับใส่น้ำกลั่นที่ปลอดเชื้อเข้าไปในโป่งบอลลูนครับ เพื่อให้สายสวนสามารถค้างอยู่ในกระเพาะปัสสาวะได้นั้นเองครับ
- ส่วนทางที่ 3 นั้นเป็นทางสำหรับใส่น้ำยาเข้าไปล้างในกระเพาะปัสสาวะตลอดเวลา (Continuous Irrigation) เพื่อให้กระเพาะปัสสาวะปลอดเชื้อนั้นเอง
ส่วนวัตถุประสงค์ของการสวนปัสสาวะคาสายไว้นั้นเพื่อ
1. เพื่อป้องกันการระคายเคืองของกระเพาะปัสสาวะ แม้กระทั่งการอักเสบและติดเชื้อของผิวหนังนั้นเองครับ ส่วนใหญ่ใช้กับผู้ป่วยที่เป็นแผลอักเสบของผิวหนังบริเวณฝีเย็บ และขาหนีบนั้นเองครับ
2. เพื่อเป็นช่องทางระบายปัสสาวะออกจากกระเพาะปัสสาวะ ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถถ่ายปัสสาวะได้เองครับ เป็นการช่วยผู้ป่วยอีกวิธีหนึ่ง
3. เพื่อช่วยให้กระเพาะปัสสาวะของผู้ป่วยว่างก่อนครับ แล้วค่อยนำตัวอย่างส่งตรวจพิเศษ หรือในระหว่างการผ่าตัดนั้นเอง
4. เพื่อใช้ในการติดตามวัดปริมาณน้ำปัสสาวะในผู้ป่วยหนัก เช่น ในผู้ป่วยอยู่ในภาวะช็อค ผู้ป่วยเสียเลือดมากนั้นเองครับ
5. เพื่อใช้สวนล้างกระเพาะปัสสาวะในรายที่มีเลือดออก มีลิ่มเลือด มีหนองหรือตะกอนขุ่นมากในระบบทางเดินปัสสาวะครับ นั้นจะช่วยลดการติดเชื่อในผู้ป่วยครับ
6. เพื่อใช้ในการตรึงท่อปัสสาวะ (Splint) เช่น ในผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บของท่อปัสสาวะ สิ่งนี้สำคัญมากกับผู้ป่วยชนิดนี้
7. เพื่อใช้เป็นช่องทางในการใส่ยาเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะครับ ใช้ในการรักษาอาการติดเชื้อภายใน
ส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยจะได้รับการดูแลจากพยาบาลในการใส่สายสวนปัสสาวะครับ
แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่อง : การสวนปัสสาวะ (Urinary catheterization) คืออะไร
เรื่องนี้ไม่อนุญาติ ให้แสดงความคิดเห็น