ขั้นตอนการทำแผลเบื้องต้น
ขั้นตอนการทำแผลเบื้องต้น
- ดูขนาดของแผลว่าต้องใช้วัสดุ อุปกรณ์อะไรบ้าง
- จัดท่านอนผู้ป่วยให้เหมาะสม เปิดเฉพาะตำแหน่งที่มีแผล
- ล้างมือให้สะอาด ถูกต้องตามวิธีการและเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ในการทำแผล ตามความเหมาะสมกับแผลของผู้ป่วย
- จัดวางชุดทำแผลให้ใกล้และสะดวกสำหรับทำแผล เป็นตำแหน่งที่ผู้ทำ ไม่ทิ้งสำลีใช้แล้ว ข้ามกรายของใช้ในชุดทำแผลจัดวางภาชนะสำหรับ รองรับเศษสำลี ผ้าก๊อซจากการทำแผลไว้ใกล้ๆ ขณะทำแผล
- เปิดชุดทำแผลด้วยเทคนิคปลอดเชื้อแล้วเตรียมน้ำยาสำหรับทำแผล ถ้าเป็นแผลชนิดแห้ง ใช้เพียงแต่แอลกอฮอล์ 70 % เพียงอย่างเดียว
- ใช้มือจับผ้าด้านนอกของชุดทำแผลเพื่อยกด้ามปากคีบขึ้นแล้วหยิบปากคีบ
ออกจากชุดทำแผล - ใช้ปากคีบชนิดมีเขี้ยวในชุดทำแผลหยิบผ้าปิดแผลด้านในที่ชิดตัวแผลออก
แล้วทิ้งลงในภาชนะที่เตรียมไว้ ให้สังเกตว่าแผลมีอาการบวมแดง กดเจ็บ และสิ่งที่ไหลออกจากแผล ซึ่งติดอยู่กับผ้าปิดแผลที่เอาออก - ใช้ปากคีบไม่มีเขี้ยวหยิบสำลีชุบ แอลกอฮอล์ 70% และใช้ปากคีบมีเขี้ยวจับสำลีให้ปากคีบมีเขี้ยวอยู่ด้านล่าง บิดหมาดๆ แล้วใช้ปากคีบมีเขี้ยวจับสำลีดังกล่าว เช็ดแผล และผิวหนังรอบๆ แผลเท่านั้น เช็ดจนแผลและผิวหนังรอบๆแผลสะอาด โดยเช็ดบริเวณด้านในออกมา
ด้านนอก
- ใช้ปากคีบไม่มีเขี้ยวหยิบผ้าก๊อซปิดแผลให้มีขนาดใหญ่กว่าแผลโดยรอบ ประมาณ1 นิ้วปิดคลุมบนแผล ห้ามวางลงข้างแผลแล้วดึงเลื่อนมาปิดแผล
- ปิดปลาสเตอร์ตามแนวทางขวางกับลำตัวของผู้ป่วย จัดท่านอนผู้ป่วยให้เรียบร้อย
- เก็บเครื่องใช้ในการทำแผล แล้วนำไปแช่ในภาชนะที่เตรียมน้ำผงซักฟอกไว้ล้างมือให้สะอาดหลังจาก
กิจกรรมกับผู้ป่วย
ขอขอบคุณบทความจาก student.mahidol.ac.th
แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่อง : ขั้นตอนการทำแผลเบื้องต้น
เรื่องนี้ไม่อนุญาติ ให้แสดงความคิดเห็น