ครรภ์เป็นพิษ ว่าที่คุณแม่ต้องรู้ ใครบ้าง? ที่มีโอกาสเสี่ยง
ครรภ์เป็นพิษ ว่าที่คุณแม่ต้องรู้ ใครบ้าง? ที่มีโอกาสเสี่ยง
ภาวะ ครรภ์เป็นพิษ มักจะเกิดกับสตรีตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสที่สาม พบว่าราว 1 ใน 20 ของสตรีมีครรภ์ จะประสบปัญหาครรภ์เป็นพิษ และเมื่อดูจากสถิติของสตรีที่เสียชีวิตจากการตั้งครรภ์ทั่วโลกในแต่ละปีแล้ว จะพบว่า กว่า 4 ใน 10 ของจำนวนนี้ มีสาเหตุมาจากภาวะครรภ์เป็นพิษ อีกทั้งยังเป็นสาเหตุหลักของภาวะอื่นๆ อาทิ การเสียชีวิตหรือปัญหาสุขภาพของทารก นอกจากนี้ ภาวะครรภ์เป็นพิษยังอาจส่งผลกระทบขั้นรุนแรงต่อสตรีตั้งครรภ์ อาทิ ชัก อาการโคม่า หรือกระทั่งเสียชีวิต ทั้งนี้ สาเหตุของการเกิดครรภ์เป็นพิษ ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด เมื่อเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษเกิดขึ้น เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดในสตรีตั้งครรภ์ทำให้ร่างกายไม่สามารถสร้างหลอดเลือดไปเลี้ยงรกได้เพียงพอ ซึ่งส่งผลให้ทารกในครรภ์ได้รับออกซิเจนและสารอาหารที่ไม่เพียงพอตามไปด้วย ภาวะครรภ์เป็นพิษเป็นโรคที่อาจไม่มีสัญญาณบ่งชี้ และมีอาการรุนแรงขึ้นได้ตามระยะเวลา ขณะนี้ ยังไม่มีวิธีรักษาภาวะครรภ์เป็นพิษได้ มีเพียงวิธีเดียวคือต้องยุติการตั้งครรภ์โดยการคลอดทารกและนำรกออกจากร่างกายมารดา
นพ.สเตฟาน เวอร์ลอเรน ที่ปรึกษาทางด้านสูตินรีแพทย์ และผู้เชี่ยวชาญทางด้านการรั
ใครบ้างที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิด ครรภ์เป็นพิษ ?
มีหลายปัจจัยที่เพิ่มโอกาสเสี่ยงสำหรับสตรีตั้งครรภ์สู่การเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ อาทิ
• สตรีตั้งครรภ์แรก
• สตรีตั้งครรภ์ที่มีประวัติครรภ์เป็นพิษในครรภ์ครั้งก่อน
• สตรีตั้งครรภ์ที่มีประวัติคนในครอบครัวมีภาวะครรภ์เป็นพิษ
• สตรีตั้งครรภ์ที่ยังอยู่ในวัยรุ่น หรือที่มีอายุเกิน 35 ปี
• สตรีตั้งครรภ์แฝด (แฝดสองหรือแฝดสาม)
• สตรีตั้งครรภ์ที่มีโรคไต หรือ โรคความดันโลหิตสูง
• สตรีตั้งครรภ์ที่เป็นโรคอ้วน
วินิจฉัยภาวะครรภ์เป็นพิษได้อย่างไร?
ลักษณะอาการของภาวะครรภ์เป็นพิษนั้นอาจตรวจพบได้ยาก และไม่ได้เป็นสิ่งผิดสังเกตสำหรับผู้ตั้งครรภ์เสมอไป ทั้งนี้ เป็นเพราะว่าสัญญาณหลายอย่างมีความคล้ายคลีงกับอาการ “ทั่วไป” ของสตรีมีครรภ์ (เช่น คลื่นไส้วิงเวียน ปวดหลังส่วนล่าง น้ำหนักขึ้น ตัวบวม แขนขาบวม) และสตรีมีครรภ์หลายคนอาจไม่มีอาการอะไรแสดงให้เห็นเลย
ปัจจุบัน การวินิจฉัยภาวะครรภ์เป็นพิษจะสงสัยในสตรีที่มีอายุครรภ์มากกว่า 20 สัปดาห์แล้วมีค่าความดันโลหิตสูง (มากกว่าหรือเท่ากับ 140 / 90 มม.ปรอท โดยการตรวจเทียบสองครั้งเป็นระยะเวลาห่างกันอย่างน้อย 4 ชั่วโมง) ร่วมกับมีภาวะโปรตีนในปัสสาวะ (มากกว่าหรือเท่ากับ 300 มก. / 24 ชั่วโมง) ซึ่งจะตรวจพบอาการบ่งชี้ทั้งสองนี้ได้ ก็ต่อเมื่อมีการตรวจครรภ์อย่างสม่ำเสมอ อย่างไรก็ดี เกณฑ์การตรวจสอบนี้ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะใช้ระบุได้ว่าสตรีมีครรภ์รายใดจะมีภาวะครรภ์เป็นพิษอย่างแท้จริง หรือจะมีอาการรุนแรงเพิ่มขึ้นหรือไม่อย่างไร
วันนี้ นวัตกรรมการตรวจเลือดสามารถคาดการณ์ได้อย่างแม่นยำว่าสตรีตั้งครรภ์รายใดมีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะครรภ์เป็นพิษ โดยการวัดอัตราส่วนของค่าโปรตีนสองตัวที่พบได้ในกระแสเลือดของผู้ตั้งครรภ์ นั่นคือ โปรตีน sFlt-1 (soluble fms-like tyrosine kinase-1) และ PlGF (placental growth factor) หากมีอัตราส่วนต่ำ เราสามารถวางใจได้ว่าจะไม่มีอาการครรภ์เป็นพิษในช่วงสัปดาห์นั้น แต่หากมีอัตราส่วนสูง อาจคาดการ์ณได้ว่าจะพัฒนาจนเกิดเป็นภาวะครรภ์เป็นพิษได้ภายในระยะเวลาสี่สัปดาห์
มีวิธีรักษาภาวะครรภ์เป็นพิษได้อย่างไรบ้าง?
ภาวะครรภ์เป็นพิษเป็นโรคที่อาจไม่มีสัญญาณบ่งชี้ และมีอาการรุนแรงขึ้นได้ตามระยะเวลา ขณะนี้ ยังไม่มีวิธีรักษาภาวะครรภ์เป็นพิษได้ มีเพียงวิธีเดียวคือต้องยุติการตั้งครรภ์โดยการคลอดทารกและนำรกออกจากร่างกายมารดา
สตรีมีครรภ์ที่พบว่ามีความเสี่ยงต่อภาวะครรภ์เป็นพิษจะต้องได้รับการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด โดยการตรวจความดันโลหิต ตรวจปัสสาวะ และตรวจอัลตราซาวน์อย่างสม่ำเสมอ และในบางกรณี อาจต้องมีการใช้ยาช่วยลดความดันโลหิต เพื่อให้การตั้งครรภ์มีความปลอดภัยนานที่สุดเท่าที่จะทำได้
การทดสอบสามารถคาดการณ์หรือยืนยันได้ว่าสตรีตั้งครรภ์มีความเสี่ยงต่อภาวะครรภ์เป็นพิษในระยะสั้นหรือไม่ จึงช่วยให้แพทย์สามารถปฏิบัติการเชิงรุกเพื่อให้มั่นใจได้ว่าสตรีตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงจะได้รับการดูแลและเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดเพื่อสุขภาพและความปลอดภัยของทั้งมารดาและทารกในครรภ์ การทดสอบนี้ไม่ได้มีไว้สำหรับสตรีตั้งครรภ์ทุกคน และไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการตรวจครรภ์ปกติทั่วไป การทดสอบนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่คาดว่าจะมีภาวะครรภ์เป็นพิษเท่านั้น (เช่น มีสัญญาณหรืออาการบ่งชี้ หรือมีปัจจัยเสี่ยง เป็นต้น)
การได้รับวินิจฉัยอย่างถูกต้องร่วมกับขั้นตอนปฏิบัติที่ถูกวิธีสามารถป้องกันไม่ให้โรคนี้มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้มารดาและทารกมีสุขภาพที่ดีขึ้น นอกจากนี้ การสามารถยืนยันได้ว่าสตรีมีครรภ์รายใดไม่มีความเสี่ยงต่อภาวะครรภ์เป็นพิษจะช่วยลดความกังวลใจ และตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลงได้ อาทิ ค่าดูแลรักษาพยาบาล หรือค่าบริการฉุกเฉิน
ที่มาบทความจาก www.roche.com
เอกสารอ้างอิง
1 Verlohren S et al. (2010). A J Obstet Gynecol 202 (161): e1-11
2 World Health Organisation – WHO recommendations for prevention and treatment of preeclampsia. Available at: http://whqlibdoc.who.int/publication/2011/9789241548335_eng.pdf ?ua=1. Last accessed November 2014
3 Hadker N et al. (2010). J Med Econ 13(4):728-37
4 Hadker N et al. (2013). Hypertens Pregnancy 32(2): 105–119
5 Powe CE et al. (2011). Circulation 123(24), 2856-2869
6 Williams, D. (2012) BMJ345:e4437
7 Chairworapongsa T. et al. (2014) at Rev Nephrol 10 (8):466-480
8 Preeclampsia Foundation FAQs – who gets preeclampsia. Available at http:// www.preeclampsia.org/health-information/faqs#gets-preeclampsia. Last accessed November 2014
9 Preeclampsia Foundation – Signs & Symptoms. Available at: http://www.preeclampsia.org/health-information/sign-symptoms. Last accessed November 2014
10 Elecsys(R) sFlt-1 and Elecsys(R) package inserts (Nov 2014). Roche Diagnostics Documentation, Basel
แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่อง : ครรภ์เป็นพิษ ว่าที่คุณแม่ต้องรู้ ใครบ้าง? ที่มีโอกาสเสี่ยง
เรื่องนี้ไม่อนุญาติ ให้แสดงความคิดเห็น