081-300-7171 ติดต่อ-สอบถาม

ตาราง ความดันโลหิตสูง รู้ไว้มีประโยชน์ต่อร่างกาย

ตาราง ความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูง

ทุกๆคนต้องมีความดันโลหิต เพราะความดันโลหิตจะเป็นแรงผลักดันให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ดังนั้นทุกคนควรจะเรียนรู้เกี่ยวกับความดันโลหิต และรักษาให้ความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ
เพราะความดันโลหิตสูงจะทำให้เกิดหลอดแข็งและตีบ เมื่อหัวใจบีบตัวหัวใจจะบีบเลือดไปยังหลอดเลือดแดงทำให้เกิดความดัน โลหิตซึ่งเกิดจากการบีบตัวของหัวใจ และแรงต้านทานของหลอดเลือดหัวใจคนเราเต้น 60-80 ครั้ง ความดันก็จะเพิ่มขณะที่หัวใจบีบตัว

และลดลงขณะที่หัวใจ คลายตัว ความดันโลหิตของคนเราไม่เท่ากันตลอดเวลา ขึ้นกับท่า ความเครียด
การออกกำลังกาย การนอนหลับ แต่ไม่ควรเกิน 140/90 หากสูงกว่านี้ แสดงว่าคุณเป็นโรคความดันโลหิตสูง

           โรคความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคหัวใจ โรคไต โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคอัมพาต โรคหัวใจเป็นโรคที่มีอัตราตายสูง ดังนั้นการป้องกัน
ความดันโลหิตสูงสามารถป้องกันอัตราการตายจากโรคหัวใจ และโรคอัมพาต โรคความดันโลหิตสูงเป็นภัยเงียบที่คุกคามชีวิตของทุกท่าน เนื่องจากไม่มีอาการเตือน
ดังนั้น การจะทราบว่าเป็นความดันโลหิตสูง จำเป็นต้องวัดความดันโลหิต

ความดันโลหิตแค่ไหนจึงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

           เมื่อตรวจร่างกายแล้วว่าความดันโลหิตสูงต้องรับประทานยาทันทีหรือไม่เมื่อท่านตรวจพบความดันโลหิตสูงถ้าไม่สูงมากอาจจะไม่จำเป็นต้องรับประทานยา
แต่หากสูงมากก็จำเป็นต้องรับประทานยา ตารางข้างล่างจะเป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วย

ความดันโลหิตที่วัดได้ (mm Hg)*
ความรุนแรงของความดันโลหิต Systolic Diastolic จะต้องทำอะไร
ความดันโลหิตที่ต้องการ น้อยกว่า 120 น้อยกว่า 80 ให้ตรวจซ้ำใน 2 ปี
ความดันโลหิตสูงขั้นต้น Prehypertensionl 130-139 85-89 ตรวจซ้ำภายใน 1 ปี
ความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตสูงระดับ 1 Stage 1 (mild) 140-159 90-99 ให้ตรวจวัดความดันอีกใน 2 เดือน
ความดันโลหิตสูงระดับ 2 Stage 2 (moderate) >160 >100 ให้พบแพทย์ใน 1 เดือน

สาเหตุของความดันโลหิตสูง
           ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงส่านใหญ่ไม่ทราบสาเหตุเรียก primary หรือ essential hypertension  เราสามารถควบคุมความดันโลหิตได้แต่รักษาไม่หาย  ดังนั้น
จึงจำเป็นต้องป้องกัน ส่วนที่ทราบสาเหตุเรียก secondary hypertension เช่น เนื้องอกต่อมหมวกไต ยาคุมกำเนิด หากทราบสาเหตุสามารถรักษาให้หายขาดได้

Primary hypertension

           หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า essential hypertension เป็นความดันโลหิตสูงที่พบมากที่สุดกลุ่มนี้ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่มักจะพบว่าผู้ป่วยกลุ่มนี้มีความสัมพันธ์
กับการรับประทานอาหารเค็ม อ้วน กรรมพันธุ์ อายุมาก เชื้อชาติ และการขาดการออกกำลังกาย

Secondary hypertension
เป็นความดันโลหิตสูงที่ทราบสาเหตุ พบได้ประมาณร้อยละ 5 ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงสาเหตุที่พบได้บ่อยคือ

  • โรคไต ผู้ป่วยที่มีหลอดแดงที่ไปเลี้ยงไตตีบทั้งสองข้างมักจะมีความดันโลหิตสูง
  • เนื้องอกที่ต่อมหมวกไตพบได้สองชนิดคือชนิดที่สร้างฮอร์โมน  hormone aldosterone ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีความดันโลหิตสูงร่วมกับเกลือแร่โปแตสเซียม
    ในเลือดต่ำ อีกชนิดหนึ่งได้แก่เนื้องอกที่สร้างฮอร์โมน catecholamines เรียกว่าโรค Pheochromocytoma ผู้ป่วยจะมีความดันโลหิตสูงร่วมกับใจสั่น
  • โรคหลอดเลือดแดงใหญ่ตีบ Coarctation of the aorta พบได้น้อยเกิดจากหลอดเลือดแดงใหญ่ตีบบางส่วนทำให้เกิดความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตต่ำ
ปกติความดันโลหิตยิ่งต่ำยิ่งดีเพราะเกิดโรคน้อย แต่หากความดันโลหิตที่ต่ำทำให้เกิดอาการ เวียนศีรษะ เป็นลมเวลาลุกขึ้นแสดงว่าความดันต่ำไป
สาเหตุที่พบได้มีดังนี้

  • ผู้ป่วยที่มีโรคระบบประสาทหรือต่อมไร้ท่อ
  • ผู้ที่นอนป่วยนานไป
  • ผู้ที่เสียน้ำหรือเลือด

เคล็ดลับในการรักษาความดันโลหิตสูง

  1. ตรวจวัดความดันเป็นระยะ
  2. รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ โดยลดน้ำหนักลง 10% สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักเกิน
  3. งดอาหารเค็มหรือเกลือ ไม่ควรได้รับเกลือเกิน 6 กรัมต่อวัน
  4. รับประทานอาหารไขมันต่ำ
  5. งดสูบบุหรี่
  6. รับประทานยาตามแพทย์สั่ง
  7. ไปตามแพทย์นัด
  8. ออกกำลังกายตามแพทย์แนะนำ โดยออกกำลังกายวันละ 30 – 45 นาที สัปดาห์ละ 3 -5 วัน
  9. รับประทานอาหารที่มีเกลือโปแตสเซี่ยม (ยกเว้นมีโรคไตร่วมด้วย)
  10. แนะนำให้พาพ่อแม่พี่น้องและลูกไปตรวจความดันโลหิต

ความดันโลหิตสูงในเด็ก

           เราไม่ค่อยพบความดันโลหิตสูงในเด็ก แต่เด็กก็สามารถเป็นความดันโลหิตสูงการค้นพบความดันโลหิตสูงตั้งแต่แรกจะสามารถป้องกันโรคหัวใจ โรคไต
ดังนั้นเด็กควรที่จะได้รับการวัดความดันโลหิตเหมือนผู้ใหญ่ สาเหตุก็มีทั้ง primary และ secondary พบว่าเด็กที่มีน้ำหนักตัวมาก เด็กที่มีประวัติครอบครัวเป็นความ
ดันโลหิตหรือบางเชื้อชาติ กลุ่มเหล่านี้จะมีโอกาสเป็นความดันโลหิตสูง แพทย์แนะนำอาหาร และการออกกำลังกาย หากความดันโลหิตไม่ลงจึงให้ยารับประทาน

ทำไมต้องรักษาความดันโลหิตสูง

           เนื่องจากโรคความดันโลหิตสูงมักจะไม่มีอาการ แต่โรคความดันโลหิตสูงสามารถทำให้เกิดโรคแก่ร่างกาย เช่นทำให้หัวใจต้องทำงานหนัก อาจจะทำให้เกิด
โรคหัวใจวาย โรคความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงอันดับหนึ่งของโรคอัมพาต และยังเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจ โรคไต โรคหลอดเลือดแดงแข็ง
ผู้ที่ไม่ได้รักษาความดันโลหิตสูงจะมีผลดังนี้

  • มีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเพิ่มขึ้น 3 เท่า
  • มีโอกาสเกิดโรคหัวใจวายเพิ่มขึ้น 6 เท่า
  • มีโอกาสเกิดโรคอัมพาตเพิ่มขึ้น 7 เท่า
โรคแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูง

           หัวใจทำหน้าที่บีบตัวไล่เลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆโดยไปตามหลอดเลือด ความดันคือแรงดันของเลือดกระทำต่อผนังหลอดเลือด จะมีสองค่าคือ
ขณะที่หัวใจบีบตัวเรียกเรียก systolic และขณะหัวใจคลายตัวเรียก diastolic ดังนั้นความดันของคนจะมีสองค่าเสมอคือ systolic/diastolic
ซึ่งจะเขียน 120/80 มม.ปรอท ยิ่งความดันโลหิตสูงเท่าใดก็จะเกิดโรคแทรกซ้อนได้มากขึ้น เช่น เส้นเลือดหัวใจตีบ หัวใจโต หัวใจวาย พบว่าความดันโลหิต systolic
ที่เพิ่มขึ้นทุก 20 มม.ปรอท และความดันโลหิต diastolic ที่เพิ่มขึ้น 10 มม.ปรอท  จะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจขาดเลือกเพิ่มขึ้น 2 เท่าความดันของคน
เปลี่ยนแปลงได้ตลอด เช่น ขณะวิ่งความดันจะขึ้น ขณะนอนความดันจะลง การเปลี่ยนนี้ถือเป็นปกติ สำหรับคนที่เป็นความดันโลหิตสูง ความดันจะสูงกว่าค่าปกติ
ตลอดเวลา หากไม่รักษาจะก่อให้เกิดปัญหาดังนี้

  • หลอดเลือดแดงแข็ง (arteriosclerosis) ความดันโลหิตสูงทำให้หลอดเลือดแดงแข็งและตีบหากไขมันในเลือดสูงจะทำให้หลอดเลือดแดงตีบเร็วขึ้น
    ทำให้เลือดไปเลี้ยงร่างกายไปพอเกิด โรคหัวใจหรือโรคอัมพาต
  • หัวใจวาย (heart attack) เมื่อหัวใจบีบตัวมากขึ้นในที่สุดหัวใจก็ไม่สามารถทำงานได้เป็นปกติ เกิดอาการของหัวใจวาย และหากเลือดไปเลี้ยง
    กล้ามเนื้อหัวใจไม่พอจะเกิดอาการเจ็บหน้าอก บางครั้งหัวใจอาจหยุดเต้นทันที่
  • หัวใจโต ความดันโลหิตสูงทำให้กล้ามเนื้อหัวใจหนาและหัวใจโตขึ้น ถ้าหัวใจทำงานไม่ไหวเกิดหัวใจวายได้
  • โรคไต หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงไตตีบหน้าที่การกรองของเสียจะเสียไปเกิดไตวาย การรักษาต้องล้างไตหรือเปลี่ยนไต
  • โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) อาจเกิดจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอเนื่องจากลิ่มเลือดไปอุดหลอดเลือดแดงที่ตีบ [thrombotic stroke] หรือเกิดจาก
    หลอดเลือดสมองแตก [hemorrhagic stroke]

ผู้ที่มีความเสี่ยงในการเป็นโรคความดันโลหิตสูง

           แม้ว่าความดันโลหิตสูงสามารถเป็นได้กับทุกคน แต่มีบางกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อความดันโลหิตสูงกว่ากลุ่มอื่น

        ปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้ ได้แก่

  • ประวัติครอบครัว ถ้าปู่ บิดา มารดาเป็นความดันโลหิตสูง โอกาสที่บุตรจะมีความดันโลหิตสูงมีมาก ดังนั้นคุณผู้อ่านที่มีคุณพ่อ แม่เป็นความดันโลหิตสูง
    ควรมั่นตรวจวัดความดันอย่างสม่ำเสมอ
  • อายุ และเพศ วัยก่อนหมดประจำเดือนผู้ชายจะเป็นความดันโลหิตสูงมากกว่าผู้หญิง เมื่อวัยหมดประจำเดือนผู้หญิงจะเป็นความดันโลหิตมากกว่าผู้ชาย
    ส่วนในคนแก่พบความดันโลหิตสูงพอๆกัน โดยมากมักพบความดันในช่วงอายุ 35-50 ปี
  • เชื้อชาติ พบความดันโลหิตสูงในผิวดำมากกว่าผิวขาว

        ปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมได้ ได้แก่

  • น้ำหนัก คนอ้วนพบความดันโลหิตสูงมากกว่าคนผอม โดยเฉพาะคนที่มีดัชนีมวลกายมากกว่า 30 เมื่อลดน้ำหนักความดันจะลดลง
  • เกลือ ทานเค็มมีแนวโน้มที่จะมีความดันโลหิตสูง
  • การขาดการออกกำลังกาย
  • ความเครียด
  • ความดันโลหิตสูง
  • การสูบบุหรี่
  • ไขมันในเลือดสูง
  • เบาหวาน

การรักษาโรคความดันโลหิตสูง

            ประโยชน์จากการรักษาโรคความดันโลหิต พบว่าการลดความดันโลหิตจะสามารถลดโรคแทรกซ้อนโรคหลอดเลือดสมองได้ร้อยละ 30-35%
และสามารถลดโรคแทรกซ้อนโรคเส้นเลือดหัวใจตีบได้ 20-25% และลดโรคหัวใจวายได้ 50 %

           เนื่องจากโรคความดันโลหิตสูงมักจะไม่มีอาการ ผู้ป่วยบางรายมาพบแพทย์เมื่อมีโรคแทรกซ้อนแล้วเช่น ไตวาย หัวใจวายเป็นต้น การตรวจวัดความดัน
ประจำปี จะช่วยให้เรารักษาผู้ป่วยได้เร็วขึ้น การพิจารณาให้การรักษาผู้ป่วยความดันโลหิตสูงขึ้นกับปัจจัยหลายอย่างเช่น ระดับความดันโลหิต โรคต่างๆที่พบร่วม
ปัจจัยเสี่ยงต่างที่เป็นดังแสดงในตารางข้างล่าง

ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ โรคร่วมต่างๆที่เป็นอยู่
การสูบบุหรี่ กล้ามเนื้อหัวใจหนา
ไขมันในเลือดสูง เคยเป็นหลอดเลือดหัวใจตีบ
โรคเบาหวาน เคยผ่าตัดเปลี่ยนหลอดเลือดหัวใจ
หญิงอายุมากกว่า 65 ปี ชายมากกว่า 55 ปี หัวใจวาย
อ้วนดัชนีมวลกายมากกว่า 30 เคยเป็นอัมพาต
ประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ(หญิงก่อน 65 ชายก่อน 55) โรคไต
ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดขาตีบ
ผู้ที่ไม่ออกกำลังกาย มีการเปลี่ยนแปลงทางตา
พบไข่ขาวในปัสสาวะ
           เมื่อพิจารณาถึงปัจจัยเสี่ยงและโรคที่พบร่วมก็จะจัดผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงออกเป็น 3 กลุ่มดังนี้

  • กลุ่ม A ผู้ป่วยไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจและไม่มีโรคร่วม
  • กลุ่ม B ผู้ป่วยมีปัจจัยเสี่ยงอย่างน้อย 1 ข้อแต่ไม่มีโรคร่วม
  • กลุ่ม C ผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน หรือมีโรคต่างๆตามตาราง

           หลังจากท่านได้จัดว่าท่านอยู่ในกลุ่มไหนแล้วก็จะมาพิจารณาว่าจะเริ่มรักษาความดันโลหิตสูงเมื่อใด

ความรุนแรงของความดันโลหิต (systolic/diastolic mm Hg)

ผู้ป่วยกลุ่ม A

ผู้ป่วยกลุ่ม B

ผู้ป่วยกลุ่ม C

Prehypertensionผู้ที่มีความดันโลหิต
(120-139/85-89)

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

การให้ยา  +ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

Stage 1 (140-159/90-99)

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (จะให้ยาหลังจากปรับพฤติกรรมแล้วเป็นเวลา 1 ปีความดันไม่ลด)

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (จะให้ยาหลังจากปรับพฤติกรรมแล้วเป็นเวลา 6 เดือนแล้วความดันไม่ลด หากมีหลายปัจจัยเสี่ยงต้องรีบให้ยา)

การให้ยา +ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

Stage 2 >160/100 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม +การให้ยา2ชนิด ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม +การให้ยา ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม +การให้ยา
  • จากตารางจะเห็นว่าผู้ป่วยกลุ่ม C จะเริ่มให้ยาเมื่อความดันโลหิตสูงไม่มากเพราะกลุ่ม c มีโรคอยู่หากรักษาช้าจะทำให้โรคที่เป็นอยู่มีอาการแย่ลง
  • กลุ่ม B และ C หากความดันอยู่ในช่วง 140-160 ยังมีเวลาปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 6เดือน-1 ปี แต่ถ้าความดันมากกว่า 160 จะให้ยาเลย

แต่ต้องเน้นว่าจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร่วมด้วยเสมอ

การรักษาความดันโลหิตสูงโดยไม่ต้องใช้ยา

ไม่ว่าคุณจะมีเชื้อชาติอะไร เพศ อายุเท่าใดคุณสามารถป้องกันความดันโลหิตสูงหรือการรักษาความดันโลหิตสูง โดยที่ไม่ต้องใช้ยาโดยวิธีการดังต่อไปนี้
ที่เรียกว่าการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือการรักษาความดันโลหิตสูงโดยไม่ต้องใช้ยา

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
คำแนะนำ
ความดันที่ลด
น้ำหนัก รักษาน้ำหนักให้ดัชนีมวลกายไม่เกิน 23 5-20 มม.ปรอท/ นน 10 กกที่ลด
รับประทานอาหารตามหลักของ DASH รับประทานผัก ผลไม้ให้มาก ลดอาหารที่มัน และไขมันอิ่มตัว 8-14 มม.ปรอท
งดเค็ม ปริมาณโซเดียมน้อยกว่า 100 mEg/L(เกลือน้อยกว่า 6 กรัม/วัน) 2-8 มม.ปรอท
การออกกำลังกาย ออกกำลังกายวันละ 30นาทีอย่างน้อย 3 วัน/สัปดาห์ 4-9 มม.ปรอท
ลดการดื่มสุรา ชายน้อยกว่า 2 หน่วย หญิงน้อยกว่า 1 หน่วย 2-4
  1. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ หากคุณอ้วนให้รีบลดน้ำหนัก
  2. ให้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  3. เลือกอาหารมี่มีเกลือต่ำ
  4. ให้ลดปริมาณแอลกอฮอล์ให้อยู่ในเกณฑ์เหมาะสม
  5. งดบุหรี่ เป็นวิธีการที่ได้ผลดีในการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด
  6. จัดการเรื่องความเครียด
  7. รับประทานอาหารที่มีคุณภาพโดยการลดอาหารเค็ม ลดอาหารมันเพิ่มผักผลไม้
  8. รึกษาแพทย์เกี่ยวกับยาที่ใช้อยู่เพราะมียาบางตัวทำให้เกิดความดันโลหิตสูง
  9. การจะใช้ยาคุมกำเนิดต้องปรึกษาแพทย์

หลักการดังกล่าวสามารถนำไปใช้กับผู้ป่วยที่เป็นความดันโลหิตสูงได้ ที่สำคัญคือต้องงดบุหรี่

     1. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

  • เลือกอาหารที่มีไขมันต่ำ อาหารไขมันต่ำจะให้พลังงานน้อย อาหารที่ให้พลังงานมากควรหลีกเลี่ยงได้แก่ เนย น้ำสลัด เนื้อติดมัน เนื้อติดหนัง นมสด ของทอด
    เช่นปลาท่องโก๋ กล้วยแขก ไก่ทอด เค้ก คุกกี้ ให้เลือกอาหารที่มีพลังงานน้อยเช่น ใช้อบหรือเผาแทนการทอด เลือกไก่ไม่ติดหนัง ปลา ดื่มนมพร่องมันเนย
    แทนนมสด รับประทานผักให้มาก
  • เลือกอาหารที่มีแป้งและใยให้มาก 
  • ใช้จานใบเล็กและห้ามตักครั้งที่สอง ควรจดรายการอาหารที่รับประทานทุกครั้ง ไม่ควรรับประทานอาหารว่างขณะดูทีวีไม่ควรงดอาหารมื้อหนึ่งแล้วชดเชย
    มื้อต่อไป
  • ให้เพิ่มออกกำลังกายเพิ่ม การออกกำลังกายหรือการทำงานบ้านจะช่วยให้ร่างกายเผาผลาญพลังงานทำให้น้ำหนักลดตารางข้างล่าง จะแสดงพลังงาน
    ที่ใช้ในการออกกำลังกาย

     2. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

           การออกกำลังกายนอกจากทำให้น้ำหนักลดแล้วยังลดไขมัน cholesterolในเลือด และเพิ่ม HDL นอกจากการออกกำลังกายแล้วท่านผู้อ่านยังสามารถทำให้
ร่างกายมีการออกกำลังอยู่ตลอดเวลา เช่นใช้บันไดแทนลิฟท จอดรถก่อนถึงที่ทำงานแล้วเดินต่อ ขี่จักรยานแทนการนั่งรถ ตัดหญ้า ทำสวน ไปเต้นรำเป็นต้น
ผู้ป่วยสามารถออกกำลังได้เลยโดยที่ไม่ต้องปรึกษาแพทย์นอกจากท่านจะมีอาการดังต่อไปนี้ขณะออกกำลังกาย แน่นหน้าอก จะเป็นลมขณะออกกำลังกาย
หายใจเหนื่อยเมื่อเริ่มออกกำลังกาย หรืออายุกลางคนโดยที่ไม่ได้ออกกำลังกาย การออกกำลังกายควรออกแบบ aerobic คือออกกำลังกายแล้วร่างกายใช้ออกซิเจน
เพื่อให้พลังงาน ควรออกกำลังกายครั้งละ 30 นาที สัปดาห์ละ 2-5 ครั้งยิ่งออกกำลังกายมาก จะช่วยลดความดันโลหิตลงได้มาก มีรายงานว่าสามารถ ลดระดับ
ความดันโลหิตลงได้ 5-15 มิลิเมตรปรอท

พลังงานที่เผาผลาญ
กิจกรรม

พลังงานที่ใช้ใน 1 ชม.

ผู้ชาย

ผู้หญิง

ออกกำลังกายแบบเบา

300

240

ทำความสะอาดบ้าน
เล่นเบสบอล
ตีกอล์ฟ
ออกกำลังกายปานกลาง

460

370

เดินเร็วๆ
ทำสวน
ขี่จักรยาน
เต้นรำ
เล่นบาสเกตบอล
ออกกำลังกายมาก

730

580

วิ่งจ๊อกกิ้ง
เล่นฟุตบอล
ว่ายน้ำ
     3. เลือกอาหารที่มีเกลือต่ำ

           การลดอาหารเค็มจะช่วยป้องกันและลดความดันโลหิต ได้ โดยทั่วไปห้ามกินเกลือเกิน 6 กรัมหรือ 1 ช้อนชา(เท่ากับ โซเดียม 2400 มิลลิกรัม) แต่แนะนำให้
รับประทานเกลือ 1500 มิลิกรับเทียมเท่าปริมาณเกลือ 4 กรัมหรือ 2/3 ช้อนชาท่านผู้อ่านไม่ควรปรุงรสอาหารก่อนชิมอาหาร หากปรุงรสอาหารเองต้องเติมเกลือ
ให้น้อยที่สุด   
           เกลือ 1/4 ช้อนชาเท่ากับโซเดียม 500 มิลิกรัม 
           เกลือ 1/2 ช้อนชาเท่ากับโซเดียม 1000 มิลิกรัม
           เกลือ 2/3 ช้อนชาเท่ากับโซเดียม 1500 มิลิกรัม
           เกลือ 1 ช้อนชาเท่ากับโซเดียม 2400 มิลิกรัม

  • หากท่านซื้ออาหารกระป๋องท่านต้องอ่านสลากอาหารเพื่อดูปริมาณสารอาหารเลือกที่มีเกลือต่ำ
  • รับประทานอาหารสด เช่น เนื้อสัตว์ ผัก หรือผลไม้ แทนการรับประทานอาหารที่ผ่านขบวนการถนอมอาหาร
  • ไม่เติมเกลือหรือน้ำปลาเพิ่มในอาหารที่ปรุงเสร็จ
  • หลีกเลี่ยงอาหารเค็ม เช่น หมูเค็ม เบคอน ไส้กรอก ผักดอง มัสตาร์ด และเนยแข็ง
  • อาหารตากแห้ง เช่น ปลาเค็ม เนื้อเค็ม หอยเค็ม กุ้งแห้ง ปลาแห้ง
  • เนื้อสัตว์ปรุงรส ได้แก่ หมูหยอง หมูแผ่น กุนเชียง
  • อาหารกึ่งสำเร็จรูป เช่น บะหมี่สำเร็จรูป โจ๊กซอง ซุปซอง
  • อาหารสำเร็จรูปบรรจุถุง เช่น ข้าวเกรียบ ข้าวตังปรุงรส มันฝรั่ง
  • เครื่องปรุงรสที่มีเกลือมาก เช่น ซุปก้อน ผงชูรส ผงฟู
  • อาหารหมักดองเค็ม เช่น กะปิ เต้าหู้ยี้ ปลาร้า ไตปลา ไข่เค็ม ผักดอง ผลไม้ดอง แหนม ไส้กรอกอิสาน

    4.จำกัดการดื่มแอลกอฮอล ผู้ชายให้ดื่มไม่เกิน 2 drink ผู้หญิงไม่เกิน 1 drink  1 drink เท่ากับ

  • วิสกี้ 45 มล.
  • ไวน์ไม่เกิน 150 มล..
  • เบียร์ไม่เกิน300 มล.

นอกจากปัจจัยดังกล่าวข้างต้นการได้รับโปแตสเซียมแคลเซียมแมกนีเซียมและน้ำมันปลายังช่วยลดความดันโลหิตในผู้ป่วยบางราย

ผลไม้ที่มีโปแทสเซี่ยมสูง
ผักที่มีโปแทสเซียมสูง
Apple
Apple juice
Apricot
Avocado*
Banana*
Cantaloupe*
Date
Grapefruit
Grapefruit juice*
Honeydew melon*
Nectarine*
Orange juice
Prune*
Prune juice*
Raisin*
Watermelon
  Asparagus
Beans, white or green
Broccoli
Brussels sprouts
Cabbage (cooked)
Cauliflower (cooked)
Corn on the cob
Eggplant (cooked)
Lima beans (fresh and cooked)
Peas, green (fresh and cooked)
Peppers
Potatoes* (baked or boiled)
Radishes
Squash, summer and winter (cooked)
  • โปแตสเซียม potassium  มีมากในผักผลไม้ปลาถั่วกล้วยน้ำส้มมะเขือเทศดังนั้นผู้ป่วยที่เป็นความดันโลหิตสูง ควรจะรับอาหารเหล่านี้เพิ่มเพื่อป้องกัน
    การขาดเกลือโปแทสเซียม
  • แคลเซียม calcium พบมากในนมไข่ผัก
  • แมกนีเซียม magnesium พบมากในผักใบเขียวถั่ว
  • ไขมันน้ำมันปลารับประทานมากจะลดความดันโลหิตได้แต่ไม่แนะนำเนื่องจากจะทำให้อ้วน
ยาลดความดันโลหิต

         1. Angiotensin converting enzyme inhibitors (ACE inhibitors) and angiotensin receptor blockers (ARB)
         ยาในกลุ่มนี้จะมีผลต่อฮอร์โมน renin-angiotensin hormonal system ผู้ป่วยร้อยละ 50-60จะตอบสนองดีต่อยาชนิดนี้ ยากลุ่มนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วย
ความดันโลหิตที่มีกล้ามเนื้อหัวใจหนา (left ventricular hypertrophy) ป้องกันไตเสื่อมในผู้ป่วยที่มีไข่ขาวในปัสสาวะ ผู้ป่วยที่หัวใจวาย ผู้ป่วยหลอดเลือดหัวใจตีบ

  • ยาในกลุ่ม ACE inhibitors ได้แก่ยา enalapril , captopril , lisinopril , benazepril , perindopril quinapril
  • ยาในกลุ่ม ARB drugs ได้แก่  losartan , irbesartan , valsartan ,  candesartan

        ผลเสียของยากลุ่มนี้ได้แก่อาการไอพบได้ร้อยละ 20 เมื่อหยุดยา 1-2 สัปดาห์อาการไอจะหายไป หากมีอาการมากให้ใช้ยากลุ่ม ARB drugs แทนกลุ่ม
ACE inhibitors นอกจากไอแล้วยังอาจจะทำให้ไตเสื่อมโดยเฉพาะผู้ที่ขาดน้ำ โรคหัวใจ ควรจะต้องติดตามการทำงานของไต ผู้ป่วยอาจจะมีผื่นที่ผิวหนัง ลิ้นไม่รับรส 
เกลือแร่โปแตสเซียมอาจจะสูงขึ้นโดยเฉพาะผู้ป่วยที่ไตทำงานไม่ดีควรจะให้ยาขับปัสสาวะที่ขับเกลือโปแตสเซียม

         เมื่อใช้ยากลุ่มนี้จะต้องระวังการใช้ยาชนิดไหน

         ควรจะระวังการให้ยาขับปัสสาวะที่ทำให้เกลือโปแทสเซียมสูงขึ้นเช่น spironolactone ,moduretic,dyazide หรือการให้เกลือแร่โปแทสเซียม ยาแก้ปวด
กลุ่ม NSAID โดยเฉพาะ indocid จะทำให้ผลการลดความดันลดลง ผู้ที่เป็นโรคจิตและได้ยากลุ่ม Lithium จะทำให้เกิดเป็นพิษต่อ lithium เพิ่ม สำหรับผู้ที่เป็นโรคเก๊า
และได้รับยา Allopurinol อาจจะทำให้เกิดผื่นแพ้ได้ง่าย

ชื่อยา ขนาดยา( มิลิกรัม) ขนาดที่ใช้ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง
Benazepril 5,10,20,40 20-40/วัน วันละครั้งถึงวันละ 2 ครั้ง
Captopril 12.5,25,20,100 50-450/วัน วันละ 2 ครั้งถึงวันละ 3 ครั้ง
Enalapril 2.5,5,10,20 10-40/วัน วันละครั้งถึงวันละ 2 ครั้ง
Fosinopril 10,20 20-40/วัน วันละครั้งถึงวันละ 2 ครั้ง
Lisinopril 2.5,5,10,20,40 20-40/วัน วันละครั้ง
Moexipril 7.5,15 7.5-30/วัน วันละครั้งถึงวันละ 2 ครั้ง
Quinapril 5,10,20,40 20-80/วัน วันละครั้งถึงวันละ 2 ครั้ง
Ramipril 1.25,2.5,5,10 2.5-20/วัน วันละครั้งถึงวันละ 2 ครั้ง
Tandolepril 1,2,4 1-4/วัน วันละครั้ง

        2. Beta-blockers
         เป็นยาที่ปิดกั้นระบบประสาทอัตโนมัติซึ่งจะทำให้ความดันโลหิตและชีพขจรลดลง ยานี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ที่พบร่วมกับชีพขจรเร็ว ผู้ป่วยมีอาการ
เจ็บหน้าอกจากเส้นเลือดหัวใจตีบ และยังป้องกันปวดศีรษะจากไมเกรน ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ atenolol , propranolol ,  metoprolol ผลข้างเคียง ของยากลุ่มนี้ได้แก่
จะมีอาการมือเท้าเย็น ทำให้โรคหอบหืดเป็นมากขึ้น ซึมเศร้า ฝันร้าย อ่อนเพลีย เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ยากลุ่มนี้ห้ามให้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืด โรคถุงลมโป่งพอง
โรคหัวใจวาย หัวใจเต้นผิดปกติบางชนิด นอกจากนี้ยังต้องระวังในการใช้สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

         3. Diuretics
         ยาขับปัสสาวะเป็นตัวแรกๆที่ใช้รักษาความดันโลหิตสูงยานี้จะออกฤทธิ์โดยการขับเกลือออกจากร่างกายโดยมากมักจะใช้ร่วมกับยาชนิดอื่น ยาที่นิยมใช้ได้แก่
hydrochlorthiazide , furosemide ยาขับปัสสาวะที่ทำให้โปแทสเซียมสูงเช่น Spironolactone ,Amiloride, Trimterene ผลข้างเคียงของยากลุ่มนี้คืออาจจะทำให้
ร่างกายขาดน้ำ เกลือโปแทสเซียมต่ำ ไขมันในเลือดสูง เลือดเป็นด่าง เกลือโวเดียมต่ำ

         4. Calcium channel blockers
ยากลุ่มนี้จะปิดกลั้นการไหลเข้าของเกลือแคลเซียมทำให้กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวลดลง ความดันโลหิตลดลงยาในกลุ่มนี้ได้แก่ nifedipine , fellodipine 
nisoldipine ผลข้างเคียงของยากลุ่มนี้ได้แก่ ใจสั่น บวมหลังเท้า ท้องผูก ปวดศีรษะหรือเวียนศีรษะ

สรุปการรักษาโรคความดันโลหิตสูง

  1. จากการรวบรวมข้อมูลพบว่าการลดน้ำหนักประมาณ 5.1 กิโลกรัมจะสามารถลดความดันโลหิตได้
    4.4/3.6 มิลิเมตรปรอท ยิ่งน้ำหนักลดมากเท่าใดความดัน จะลดลงมากเท่านั้น แนะนำว่าให้คุมน้ำหนัก
    โดยที่มีค่าดัชนีมวลกายประมาณ 25
  2. การลดปริมาณเกลือที่รับประทานจะลดความดันโลหิตทั้งผู้ที่มีความดันปกติและผู้ที่มีความดันโลหิตสูง
    โดยแนะนำว่ารับประทานไม่เกิน 2.3 กรัม/วัน
  3. รับประทานผักและผลไม้ให้มาก เนื่องจากผักและผลไม้จะมีโปแตสเซี่ยมมากซึ่งจะช่วยลดความดันโลหิต
    แนะนำให้รับประทานวันละ 4.7 กรัม/วัน
  4. การดื่มสุรามากจะทำให้ความดันเพิ่ม แนะนำให้ดื่มวันละ 2 และ 1 หน่วยสุราในชายและหญิงตามลำดับ
  5. การรับประทานผักมากจะช่วยลดระดับความดันโลหิต
  6. การรับประทานอาหารที่ลดความดัน จะลดความดันโลหิตทั้งคนปกติและผู้ที่มีความดันโลหิตสูง
    โดยเริ่มลดเมื่อเวลา 2 สัปดาห์
  7. การรับประทานน้ำมันปลา Omega-3 polyunsaturated fatty acid จะสามารถลดระดับความดันโลหิต
  8. แต่ต้องรับประทานมากถึง 3 กรับ/วัน
  9. ยังไม่มีหลักฐานว่าการรับประทานอาหารที่มีแคลเซี่ยม แมกนีเซี่ยม และใยอาหารว่างสามารถลดระดับ
    ความดันโลหิต
  10. คนที่สูงอายุจะตอบสนองต่อการคุมอาหารได้ดีกว่าคนหนุ่ม
ที่มา.. ศูนย์สุขภาพโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา