วัดอุณหภูมิลูกน้อยอย่างไรให้ปลอดภัย
วัดอุณหภูมิลูกน้อยอย่างไรให้ปลอดภัย
สิ่งหนึ่งที่สามารถบอกได้ว่าร่างกายเราผิดปกติจากเดิม นั้นก็คือ ไข้ ส่วนใหญ่มักทำให้เด็กงอแงเนื่องจากเด็กบอกไม่ได้เขาเป็นอะไร นั้นก็ทำให้ผู้ปกครองกินไม่ได้ นอนไม่หลับ และที่สำคัญอาจมีอาการชักตามมาได้ถ้าอุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น ตั้งแต่ 37.5 – 38 องศาเซลเซียสขึ้นไป นี้ก็ถือว่าเด็กเป็นไข้แล้วนะครับ สิ่งที่อยากแนะนำสำหรับคุณแม่มือใหม่ทุกท่านก็คือ ควรใช้ปรอทวัดอุณหภูมิร่างกายมีความน่าเชื่อถือมากกว่าการใช้มือสัมผัสเด็กโดยตรงครับ และคุณยังสามารถประเมินได้อย่างละเอียดกว่าอีกด้วยนะครับ
โดยปกติแล้วที่โรงพยาบาลเมื่อมีการวัดอุณหภูมิ จะกระทำได้โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่าเทอร์โมมิเตอร์ หรือที่เรารู้จักกันดีว่าปรอทปัจจุบันนี้มมีหลากหลายชนิด ได้แก่
- ปรอทที่ใช้วัดทางปาก
- ทางทวารหนัก
- ทางรักแร้
- ทางผิวหนัง
- การใช้ปรอทวัดอุณหภูมิทางปาก และทางทวารหนัก
การวัดต่างๆ เหล่านี้เป็นที่ยอมรับ น่าเชื่อถือและแม่นยำที่สุดครับ แต่ก็เป็นวิธีที่ลำบากวิธีหนึ่งอาจเป็นอันตรายแก่เด็กได้หากผู้ใช้ไม่มีความชำนาญพอ พ่อแม่จึงนิยมใช้ในสถานพยาบาลเท่านั้นครับ ในส่วนของการวัดอุณหภูมิทางรักแร้ และผิวหนังอาจมีความแม่นยำน้อยกว่าทางช่องปาก แต่แน่นอนครับสะดวกต่อการใช้วัดอุณหภูมิในเด็กที่อยู่ที่บ้านและไม่มีอันตรายแต่อย่างได แม้ผู้ใช้จะไม่มีความชำนาญก็ตาม
ข้อแนะนำนะครับ ครอบครัวหนึ่งควรเลือกซื้อหาเทอร์โมมิเตอร์วัดไข้ครอบครัวละ 1 อันเป็นอย่างน้อย และควรมีของผู้ใหญ่ด้วยยิ่งดีครับ ถ้าร่างกายผิดปกติการวัดอุณหภูมิที่แม่นยำจะช่วยให้คุณแม่ประเมินสถานการณ์การเจ็บป่วยของลูกหรือแม้แต่ตัวท่านเองและถึงมือคุณหมอได้อย่างทันท่วงทีและปลอดถัยครับ
วัดไข้ตรงไหนให้เหมาะกับอายุเด็ก
1. การวัดไข้ทางหน้าผาก (forehead thermometer) วิธีนี้เหมาะกับเด็กทุกวัยครับ อุปกรณ์ทำด้วยแผ่นพลาสติกมีแถบสารไวต่อความร้อนติดอยู่ใช้กับหน้าผากจึงไม่ต้องสอดใส่เข้าไปในร่างกายส่วนไหนเลย ใช้งานง่ายเพียงวางบนหน้าผากของลูก แต่ที่สำคัญไม่ค่อยแม่นยำมากนัก เนื่องจากความร้อนของร่างกายอาจมาจากหลายสาเหตุ
ใช้อย่างไร
- ทาบแถบเทอร์โมมิเตอร์ไว้กับหน้าผากลูก อย่าให้มือแตะถูกบริเวณตัวเลย – ทิ้งไว้ 15 วินาที ตัวเลขจะค่อยๆ ปรากฏชัดขึ้น
- อ่านค่าอุณหภูมิ หลังจากที่ตัวเลขหยุดการเคลื่อนไหวแล้ว
2. การวัดไข้ใต้รักแร้ (Under the armpit) – เหมาะกับเด็กอายุ 1 ปีขึ้นไป – ง่ายและสะดวก ใช้ได้กับเทอร์โมมิเตอร์แบบ
ปรอทและดิจิตอล แต่มีความแม่นยำน้อยที่สุด
ใช้อย่างไร
- นั่งชิดกับลูก โดยให้ลูกอยู่ในท่าที่ผ่อนคลายที่สุด
- ตรวจดูให้แน่ใจว่าบริเวณใต้วงแขนของลูกแห้ง และใส่บริเวณกระเปาะไว้ใต้แขน ต้องแน่ใจด้วยว่าบริเวณ
- กระเปาะอยู่แนบชิดกับผิวหนัง
- หากลูกดิ้นสามารถกอดลูกไว้หรือให้นมลูกไปด้วยก็ได้
- คุณแม่อาจจะจับแขนลูกให้แน่น โดยอาจจับแขนลูกมาวางพาดบนหน้าอก ใช้เวลาประมาณ 2 นาที แล้วอ่านค่า
- อุณหภูมิที่อ่านได้จะต่ำกว่าอุณหภูมิของร่างกายจริง ประมาณ 0.6 องศาเซลเซียส หรือ 1 องศาฟาเรนไฮต์
3. การวัดไข้ทางปาก (Oral thermometer) – เหมาะสำหรับเด็กอายุ 5 ปีขึ้นไป เพราะลูกสามารถระมัดระวังไม่เคี้ยวหรือ
กัดหลอดและสามารถอมใต้ลิ้นด้วยตนเองได้ วัดอุณหภูมิได้แม่นยำ นิยมใช้ตามโรงพยาบาล วิธีการไม่ยุ่งยาก
ใช้อย่างไร
- ใช้เมื่อแน่ใจว่าลูกสามารถอมเทอร์โมมิเตอร์ไว้ใต้ลิ้นจริงๆ
- วางเทอร์โมมิเตอร์ใต้ลิ้นประมาณ 2 นาที แล้วอ่านค่า
4. การวัดไข้ทางหู (Ear thermometer) เหมาะสำหรับเด็กอายุ 3 เดือนขึ้นไป เพราะถ้าต่ำกว่านี้ร่องหูเด็กจะแคบ
ไม่สามารถสอดใส่เซ็นเซอร์ได้อย่างเหมาะสม สะดวกตรงที่ทำให้เด็กรู้สึกสบาย ง่ายต่อการวัด ไม่อันตรายต่อ
แก้วหู แต่หากใส่ไม่ตรงจุดแล้วล่ะก็ตัวเลขก็จะไม่ขึ้นอย่างแม่นยำ ราคาค่อนข้างแพง ถ้าตกหรือกระเทือนรุนแรง
จะพัง ซ่อมไม่ได้
ใช้อย่างไร
- จับลูกนอนตะแคงในท่าที่ลูกสบายและอยู่นิ่งเฉย
- เสียบเทอร์โมมิเตอร์เข้าไปในช่องหูให้ตรงจุด คือบริเวณรูหู ถ้าไม่ตรงจะทำให้ได้ผลที่ไม่ถูกต้อง
- รอจนกระทั่งเสียงดังปี๊บ แสดงว่าวัดไข้เสร็จแล้ว
5. การวัดไข้ทางก้น (Rectal thermometer) เหมาะสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบถึงขวบครึ่ง แพทย์ส่วนใหญ่ยังคงมี
ความเห็นว่าการวัดไข้ทางก้นเด็กนั้น มีความเที่ยงตรงแม่นยำมากที่สุด แต่ก็มีความเสี่ยงหากสอดใส่เทอร์โมมิเตอร์
ลึกเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะที่เด็กทารกกำลังร้องดิ้น
ใช้อย่างไร
- ทากระเปาะของปรอทด้วยเบบี้ออยล์หรือวาสลีนเพื่อหล่อลื่น
- จับเด็กนอนหงายในท่าที่สบาย ถอดผ้าอ้อมออก ใช้มือข้างหนึ่งจับข้อเท้าทั้ง 2 ข้างของเด็กยกขึ้น
- หรือจับให้ลูกนอนคว่ำบนตัก วางมือบนหลังลูกเพื่อป้องกันลูกดิ้น
- ค่อยๆ สอดแท่งปรอทเข้าไปในก้นลึกประมาณ 1 นิ้ว ปล่อยไว้ 30 วินาที-2 นาที (ขึ้นอยู่กับชนิดของเทอร์โมมิเตอร์) แล้วดึงออกเช็ดวาสลีนที่ติดอยู่แล้วอ่านอุณหภูมิ
- หลังจากถอดเทอร์โมมิเตอร์ออกจากก้นลูกอาจจะอึหรือผายลมออกมาอย่าตกใจไป
แค่นี้ก็เสร็จเรียบร้อยไปอีกเรื่องแล้วนะครับ ตรวจสอบตัวเองและลูกหลานให้ปลอดภัยจากไข้ด้วยการใช้ปรอทวัดไข้อยู่เสมอ