วิธีการให้อาหารทางสายมาแล้วครับ
วิธีการให้อาหารทางสายสำหรับผู้ป่วย
ลูกค้าหลายท่านสอบถามเกี่ยวกับการให้อาหารทางสายมีกี่วิธี ทางเราตระหนักถึงความต้องการของลูกค้าทุกท่าน จึงได้หาข้อมูลที่เป็นประโยนช์ต่อท่านให้มากที่สุดครับ สำหรับการให้อาหารทางสายยางนั้นมี 2 วิธีครับ คือ
• Intermittent Enteral Tube Feeding
เป้นการให้อาหารทางสายอาหารของผู้ป่วย ประมาณวันละ 4-6 ครั้งครับ ส่วนใหญ่แล้วพยาบาทมักจะให้ตามมื้อของอาหาร คือเช้า กลางวัน และก็เย็นครับ เพื่อให้เป็นไปตามแบบแผนการดำเนินชีวิตของคนทั่วไป ในกรณีที่อาหารเหลวมีปริมาณมากนั้น อาจจะแบ่งเป็น 4 มื้อ คือก่อนนอนด้วยครับ นี้อาจทำให้ผู้ป่วยไม่หิวช่วงระหว่างหลับนอน ส่วนระหว่างมื้อเราอาจจะให้น้ำเปล่าหรือน้ำหวาน เพื่อให้ร่างกายได้รับน้ำเพียงพอ
• Continuous Enteral Tube Feeding
เป็นการให้อาหารทางสายแบบต่อเนื่องครับ โดยเป็นการให้อาหารช้า ๆ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับอาหารเหลวได้ทีละจำนวนมากๆ ครับ เช่น ในรายที่มีปัญหาในการย่อยและดูดซึมนั้นเอง เพราะว่าระบบย่อยอาหารของผู้ป่วยทำงานไม่ปกติ วิธีการให้อาหารแบบ continuous feeding นั้น จะต้องใช้อุปกรณ์ที่เป็นสายและมี clamp สำหรับปรับอัตราหยดด้วย เพื่อไม่ให้อัตราการไหล เร็ว หรือช้าเกินไปครับ โดยจะต้องควบคุมให้หยดช้าๆ และต่อเนื่องในเวลาที่กำหนด ตามที่คุณหมดเห็นว่าเหมาะสม และไม่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วยเอง ถ้าต้องการให้อาหารสำหรับผู้ป่วยที่นอนอยู่ที่บ้าน ต้องปรึกษาคุณหมอให้เข้าใจก่อนลงมือทำนะครับ หรืออาจจะควบคุมจำนวนหยดด้วยเครื่อง ( Infusion pump) ก็ได้ด้วย
ข้อควรระวังในการดูแลผู้ป่วย
1. หากผู้ป่วยมีการสำลัก หรืออาเจียน ซึ่งเป็นกรณีหนึ่งที่ทำให้ปลายสายให้อาหารเลื่อนออก หรือที่เรียกว่า Tube displacement มาอยู่ในหลอดอาหาร (Eesophagus) หรือเข้าไปในหลอดลม ( Respiratory Tract) ก่อนใช้พยาบาลต้อง ทดสอบปลายสายก่อนให้อาหารทุกครั้ง เพื่อป้องกันการสำลักนั้นเองครับ หากอาหารเหลวเข้าไปในหลอดลม หรือหลอดอาหารยิ่งจะทำให้ผู้ป่วยหายใจไม่ออก เป็นอันตรายได้
2. ถ้าหากมีการให้อาหารทางสายเร็วเกินไป อาจทำให้ เกิดการหดเกร็งของกระเพาะอาหาร อาจทำให้ผู้ป่วยสำลักอาหารได้
3. หากผู้ป่วยที่ได้รับอาหารทางสายและเกิดอาการท้องเสีย อาจมีสาเหตุการครับ คือ
- เช่นผู้ป่วยที่ไม่มีน้ำย่อยสำหรับย่อยนม ( Lactose Interance) ถ้าสูตรอาหารเหลวมีนมผสมจะทำให้ผู้ป่วยท้องเสีย
- ถ้าเป็นสูตรอาหารที่มีความเข้มข้นมาก ( High Osmolarity Formula) ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้มีการดึงน้ำออกมาอยู่ในลำไส้มาก และจะนำไปสู่อาการท้องเสียได้นะครับ
- อาหารเหลวที่ให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย หรือ จากการเก็บอาหารเหลวไม่ถูกต้องทำให้อาหารเหลวบูด
หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามหรือติดต่อคุณหมอ ก่อนเพื่อความปลอดภัยผู้ป่วยเองนะครับ
แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่อง : วิธีการให้อาหารทางสายมาแล้วครับ
เรื่องนี้ไม่อนุญาติ ให้แสดงความคิดเห็น