เชื่อกันมาแต่นมนาน วิทยาศาสตร์การแพทย์เผย ดื่มน้ำในขวดพลาสติกตากแดดอันตรายเป็นความเชื่อผิด ๆ
เชื่อกันมาแต่นมนาน วิทยาศาสตร์การแพทย์เผย ดื่มน้ำในขวดพลาสติกตากแดดอันตรายเป็นความเชื่อผิด ๆ
เราเคยเชื่อกันต่อ ๆ มาจากปากผู้ใหญ่บ้าง หรือเพื่อน ๆ บ้าง ถึงเรื่องให้ระมัดระวังการรับประทานน้ำในขวดพลาสติกที่ตากแดด และก็เป็นความเชื่อที่ฝังหัวกันมาโดยไม่มีใครคิดว่าจะไม่ใช่เรื่องจริง จนกระทั่งไม่นานมานี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ออกมาเปิดเผยว่า ความเชื่อดังกล่าวนั้นไม่มีหลักฐานหรือมูลความจริงแต่อย่างใด
ด้วยการทดลองนำน้ำใส่ขวดไปวางไว้ในรถที่ตากแดดเป็นเวลา 1 วัน และ 7 วัน และนำน้ำในขวดมาตรวจสอบ ผลการตรวจสอบปรากฏว่า ไม่พบสารอันตรายใด ๆ ภายในขวดน้ำทั้งสองขวดที่วางไว้ในเวลาที่แตกต่างกัน ทำให้ความเชื่อในเรื่องของสารพิษที่จะละลายมาปนเปื้อนกับน้ำนั้น ถูกปัดตกไปอย่างสมบูรณ์ด้วยการทดลองที่จำลองสถานการณ์จริง ๆ นั่นเอง
สำหรับสารพิษที่กลัวกันนั้น คือ สารไดออกซิน ซึ่งเป็นสารประกอบที่อยู่ในขวดน้ำ และแน่นอนว่าถ้าสารไดออกซิน หลุดออกมาเจือปนกับน้ำ นั่นย่อมมีพิษต่อร่างกายแน่นอน แต่อย่างไรก็ดี สารไดออกซิน ตัวนี้ จะไม่ละลายปะปนกับน้ำได้เลย เนื่องจากหากจะมีการละลายปนเปื้อนจริง ๆ สารไดออกซินจะต้องได้รับความร้อนที่มากกว่าความร้อนในรถยนต์หลายเท่านัก ดังนั้นมั่นใจได้เลยว่า การรับประทานน้ำในรถที่ตากแดดไม่ทำให้เกิดอันตรายหรือสารปนเปื้อนแต่อย่างใด แต่ทางที่ทีก็ไม่ควรจะเก็บน้ำไว้ในรถจะดีที่สุด
แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่อง : เชื่อกันมาแต่นมนาน วิทยาศาสตร์การแพทย์เผย ดื่มน้ำในขวดพลาสติกตากแดดอันตรายเป็นความเชื่อผิด ๆ
เรื่องนี้ไม่อนุญาติ ให้แสดงความคิดเห็น