081-300-7171 ติดต่อ-สอบถาม

โรคหมอนรองกระดูกเสื่อม

โรคหมอนรองกระดูกเสื่อม

Degenerative Disc Disease โรคหมอนรองกระดูกเสื่อม
โรคหมอนรองกระดูกเสื่อม
หมอนรองกระดูกคืออะไร 
     กระดูกสันหลังของ เราประกอบด้วยกระดูกหลายๆ ชิ้นมาต่อกัน ระหว่างกระดูกเหล่านี้จะมีอวัยวะชนิดหนึ่งคั่นอยู่เราเรียกว่า หมอนรองกระดูก เพราะฉะนั้นกระดูกสันหลังมีกี่อัน หมอน รองกระดูกก็มีใกล้เคียงกันครับ หมอนรองกระดูก มีชื่อตามตำราว่า Intervertebral disc ถ้าจะจำเพาะลงไป ตามตำแหน่งก็เป็นว่า หมอนรองกระดูกคอ เรียกว่า Cervical disc และหมอนรองกระดูกที่เอวเรียกว่า Lumbar disc หมอนรองกระดูกไม่ได้เป็นกระดูกครับ แต่จะประกอบด้วยส่วนใหญ่ๆ 2 ส่วนคือ วงรอบนอกจะเป็นเอ็นแข็งๆ (Anular ligament) และใจกลางจะเป็นเหมือนเจลใสๆ (Nucleus pulposus) ทั้งหมดมีหน้าที่รับแรกกระแทกและทำให้เราเคลื่อนไหว
อาการ
       
    อาการแสดงของกระดูกคอเสื่อม
1.        ไม่มีอาการแสดง อาจจะมีอาการเมื่อยๆคอ เป็นๆหายๆ แต่ก็ไม่ได้สังเกต ไม่ได้รักษา
2.        ปวดคอเรื้อรัง กินยาแก้ปวดก็ดีขึ้น ต่อมากลับมาปวดคออีก บางรายเวลาแหงนคอก็มีอาการปวดร้าวไปบริเวณสะบักหรือหัวไหล่
3.        ปวดคอร้าวไปแขน แสดงว่ากระดูกคอเสื่อมเริ่มมีการกดทับเส้นประสาท อาจจะมีประวัติ เหมือนมีไฟช๊อตร้าวจากคอไปบริเวณข้อศอกหรือนิ้วมือ เสียวแปล๊บๆ ต่อมาอาการเสียวดีขึ้นแต่รู้สึกชาและปวดแขน แขนล้าไม่มีแรง
4.        ไม่มีอาการปวดคอแต่รู้สึกปวดไหล่ ร้าวไปข้อศอก ปวดล้าๆ เมื่อย อาจจะมีอาการชาร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้
5.        มีอาการเดินเซ หรือแขนขา อ่อนแรง โดยไม่ปวดคอ (Cervical  myelopathy) ถ้ามีการกดทับเส้นประสาทอย่างรุนแรงก็ทำให้เดินไม่ได้ หรือควบคุมการอุจจาระ ปัสสาวะไม่ได้
     อาการแสดงของกระดูกสันหลังเสื่อม
1.        มีอาการปวดหลัง เป็นๆ หายๆ เป็นเวลานาน
2.        มีอาการปวดขาตั้งแต่บริเวณสะโพกร้าวไปบริเวณน่อง เท้า ซึ่งจะปวดมากเวลาเดิน ทำให้เดินได้ไม่ไกล ต้องหยุดเดินเป็นระยะๆ  ผู้ป่วยจะรู้สึกว่าอาการดีขึ้นก็จะเดินต่อไป  ได้ บางครั้งผู้ป่วยจะรู้สึกหลังจะค่อยๆ ค่อมลงเวลาเดิน
3.        ในผู้ป่วยบางราย พบว่ามีอาการปวดหลัง ร่วมกับอาการชาขาและปลายเท้า เป็นเหน็บโรคหมอนรองกระดูกเสื่อม2
4.        ผู้ป่วยบางคนจะไม่รู้สึกปวด แต่จะรู้สึกล้าๆ บริเวณขา ขาไม่มีแรง ก้าวไม่ออกเวลาเดิน
5.        อาจพบว่ามีตะคริวบริเวณน่องบ่อยๆ ขณะนอนหลับในเวลากลางคืนต้องตื่นขึ้นเนื่องจากอาการปวดน่อง หรือปวดขามาก
6.        พบว่ามี 1-2 % ของผู้ป่วยที่มีกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาทอย่างรุนแรง มีอาการกล้ามเนื้อขาอ่อนแรง เดินไม่ได้ และควบคุมการขับถ่ายไม่ได้
               อาการปวดหลังร้าวลงขาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง เป็นอาการเด่นของโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ปวดมากหรือปวดน้อยขึ้นอยู่ว่ากดมากหรือน้อยเป็นสำคัญ ถ้าทิ้งไว้นาน เส้นประสาทจะทำงานได้น้อยลง อาการชาและอ่อนแรงของขาซีกนั้นจะเริ่มเด่นชัดขั้น อาการทั้งหมดจะเป็นลักษณะค่อยเป็นค่อยไป ดังนั้น คนที่เป็นจะคุ้นเคยกับอาการและบอกรายละเอียดของอาการได้เป็นอย่างดี
สาเหตุ
   อาการหมอนรองกระดูกเสื่อม เกิดจากการใช้งานข้อต่อบริเวณต่างๆ มากเกินไป อาทิ บริเวณกระดูกส่วนคอจากการก้มๆ เงยๆ ทำกิจกรรมต่างๆ และกระดูกบั้นเอว ที่มีการบิดตลอดเวลาทุกครั้งที่มีการก้มหรือเคลื่อนไหว ทำให้มีอาการปวดบริเวณหลัง สะโพก หรือคอ บางครั้งมีร้าวไปที่ก้นและต้นขา
    อาการนี้พบได้ในผู้มีอายุตั้งแต่ 40 – 50 ปี โดยผู้ชายมีโอกาสเป็นโรคดังกล่าวได้เร็วกว่าผู้หญิง เนื่องจากลักษณะการทำงานอาจต้องใช้แรงมาก อย่างไรก็ตาม โรคกลุ่มนี้แม้พบไม่บ่อย แต่ผู้ป่วยมักจะไม่หายขาด ในรายที่มีอาการมาก เป็นเรื้อรังอาจต้องทำการผ่าตัดหรือเปลี่ยนหมอนรองกระดูกเทียม
    การผ่าตัดหมอนรองกระดูกเสื่อมจากเดิมจะใส่กระดูกเทียม หรือสารสังเคราะห์ต่างๆ เข้าแทนที่ ปัจจุบันมีนวัตกรรม เรียกว่า หมอนรองกระดูกเทียม ซึ่งมีลักษณะเป็นโครงโลหะเลียนแบบกระดูกตามธรรมชาติ แกนกลางเป็นพลาสติกยืดหยุ่น และสามารถเคลื่อนไหวได้ใกล้เคียงหมอนรองกระดูกตามธรรมชาติ ทั้งนี้ การผ่าตัดเปลี่ยนหมอนรองกระดูกเทียมส่วนใหญ่จะทำในผู้ป่วยอายุต่ำกว่า 60 ปี และรักษาด้วยการให้ยาและทำกายภาพบำบัดไม่ได้ผล และต้องเป็นโรคหมอนรองกระดูกอย่างเดียว ไม่มีอาการของการกดทับเส้นประสาทร่วมด้วย เนื่องจากอาจทำให้การรักษาไม่ดีเท่าที่ควร อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีดังกล่าวยังมีค่าใช้จ่ายสูงมาก อีกทั้งปัจจุบันยังไม่มีรายงานหรือข้อมูลบ่งชี้ถึงประสิทธิภาพในระยะยาว
การรักษา
การรักษาโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการกดทับเส้นประสาท จากรูปจะเห็นว่า มีการแบ่งลักษณะของหมอนรองกระดูกออกเป็นระยะๆ ทั้งนี้เนื่องจากการรักษาในแต่ละระยะแตกต่างกันโรคหมอนรองกระดูกเสื่อม3
1.     ในระยะ Protusion ผนังของหมอนรองกระดูกจะยังไม่เสีย ความยืดหยุ่นไปมากนัก การรักษาด้วยยา กายภาพบำบัด ตลอดจนการรู้จักวิธี เสริมสร้างกล้ามเนื้อหลังเพื่อป้องกันไม่ให้มีการอักเสบ จะสามารถช่วยให้อาการของโรคไม่กำเริบและหายได้ในที่สุด
2.    ในระยะ Prolapse ในระยะนี้ผนังของหมอนรองกระดูกเริ่มเสียความยืดหยุ่นไปแล้ว แต่ยังไม่ถึงกับแตกจนส่วนแกนในไหลออกมา การรักษาโดยการผ่าตัดน่าจะได้ผลดีที่สุด
3.     ระยะ Extrusion ผ่าตัดแน่นอนครับ
4.    ระยะ Sequestration ระยะนี้ก็ต้องผ่าตัดเหมือนกันครับ
        จะเห็นได้ว่า ทั้งสี่ระยะโอกาสที่จะไม่ต้องผ่าตัดมีเพียงระยะแรกเท่านั้น การผ่าตัดกระดูกสันหลังเป็นสิ่งที่ทุกคนไม่พึงปรารถนา แม้ว่า ปัจจุบันอันตรายจะน้อยลงกว่าสมัยก่อนมากมายก็ตาม การป้องกัน ไม่ให้โรคเลื่อนจากระยะแรกจึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจที่สุด

 

แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่อง : โรคหมอนรองกระดูกเสื่อม

เข้าสู่ระบบ


ลืมรหัสผ่าน สมัครสมาชิก

ระบบสมัครสมาชิก ถูกปิดการใช้งาน