สายเอนกประสงค์ (Extension Tube) ยี่ห้อ BM2
- สายให้อาหารผู้ใหญ่
- เบอร์ 12, 18, 36, 42 นิ้ว
- ขนาดบรรจุ 1 กล่อง x 10 แพ็ค x 100 ชิ้น
อาหารเหลวที่ให้ทางสายอาหาร( Enteral formulas )
อาหารเหลวที่ให้ทางสาย จะต้องเป็นอาหารครบส่วน คือ มีสารอาหารครบถ้วนเพีงพอแก่ความต้องการของร่างกาย มีความหนืดพอเหมาะไ ม่เข้มข้นเกินไป โดยทั่วไปจะให้พลังงาน 1-1.5 แคลรี /1 ml. ประกอบด้วยอาหารหลัก ได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมันอย่างเหมาะสม คือ โปรตีน 15-20% ไขมันไม่ควรเกิน 30% ที่เหลือเป็นคาร์โบไฮเดรต
สูตรอาหารเหลวที่ให้ทางสายอาหารแบ่งเป็น 3 ประเภท
สูตรน้ำผสมนมผง( Milk-based formulas ) มีน้ำนมและผลิตภัณฑ์นมเป็นส่วนประกอบสำคัญ หรืออาจเตรียมโดยแผนกอาหารของโรงพยาบาล
สูตรอาหารปั่นผสม( Blenderized diet ) เป็นอาหารทีเตรียมโดยแผนกอาหารของโรงพยาบาลโดยโภชนากรของโรงพยาบาล เป็นสูตรอาหารที่ประกอบด้วย เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ ไข่ ไขมันสัตว์ น้ำมันพืช น้ำตาลและคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนปั่นผสมเข้าด้วยกัน
สูตรอาหารสำเร็จรูป( Commercial formulas ) ซึ่งผลิตขายโดยบริษัทผลิตนมและอาหารสำเร็จรูป มีทั้งชนิดผงและเป็นของเหลว
วิธีการให้อาหารทางสายอาหารมี 2 แบบ
Intermittent Enteral Tube Feeding
เป็นการให้อาหารทาสายให้อาหารเป็นครั้งคราววันละ 4-6 ครั้ง ส่วนใหญ่มักจะให้ตามมื้อของอาหาร เพื่อเป็นไปตามแบบแผนการดำเนินชีวิตในการรับประทานอาหารของคนทั่วไป คือ อาหารเช้า อาหารกลางวัน อาหารเย็น และในกรณีที่อาหารเหลวมีปริมาณมาก อาจแบ่งเป็น 4 มื้อ คือก่อนนอนด้วย ส่วนระหว่างมืออาจจะให้เป็นน้ำเปล่าหรือน้ำหวาน เพื่อให้ร่างกายได้รับน้ำเพียงพอ
Continuous Enteral Tube Feeding
เป็นการใส่อาหารทางสายอาหารแบบต่อเนื่องโดยหยดทางสายอาหารช้าๆในรายที่ผู้ป่วยไม่สามารถรับอาหารเหลวได้ทีละจำนวนมากๆ เช่น ในรายที่ผู้ป่วยมีปัญหาในการย่อยและดูดซึม
การให้แบบ Continuous feeding จะต้องใช้อุปกรณ์ที่เป็นสายและมี clamp สำหรับปรับอัตราหยด ช้าๆและต่อเนื่องในเวลาที่กำหนดหรืออาจควบคุมจำนวนหยดด้วยเครื่อง ( Infusion pump)
การตรวจสอบปลายสายให้อาหาร
การตรวจสอบปลายสายให้อาหารเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องปฏิบัติก่อนให้อาหารทุกครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าปลายสายอาหารอยู่ในกระเพาะอาหาร และเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆจากการที่ปลายสายให้อาหารเลื่อนออกมานอกกระเพาะอาหาร( tube displacement )
วิธีการปฏิบัติ
• ทดสอบด้วยการดูดสิ่งตกค้างในกระเพาอาหาร( gastric residual )ถ้าได้สิ่งที่ตกค้างจากกระเพาะอาหารแสดงว่าปลายสายอยู่ในกระเพาะอาหาร ถ้าไม่มีสิ่งตกค้างจะต้องปฏิบัติตามวิธีที่ 2 ต่อ
• ฟังเสียงลมผ่านปลายสายอาหาร โดยใช้ Syringe Feed ดันลมเข้าไปประมาณ 15-20ml. ในผู้ใหญ่ และ 3-5ml. ในเด็กเล็ก พร้อมกับฟังด้วย Stethoscope on Xiphoid Process
วิธีการให้อาหารทาง Nasogastric tube
1. ล้างมือให้สะอาด
2. เตรียมอุปกรณ์ในการให้อาหารเหลว และ อาหารเหลวตามแผนการรักษา
3. บอกให้ผู้ป่วยทราบและกลั้นม่าน
4. จัดให้ผู้ป่วยนอนหงายศีรษะสูงหรือท่านั่ง ถ้าผู้ป่วยนานหงายไม่ได้ให้นอนตะแคงขวาศีรษะสูงอย่างน้อง 30 องศาและสูงได้ถึง 45 หรือ 60 องศา
5. เปิกจุกที่ปิดรูเปิดสายให้อาหารและเช็ดรูเปิดด้านนอกของสายให้อาหารด้วยสำลีชุบน้ำต้มสุก
6. สวมปลาย Syringe Feed เข้ากับรูเปิดของสายให้อาหารแน่น แล้วดูดว่ามีอาหารเหลวมื้อก่อนเหลือค้างอยู่ในกระเพาะอาหารหรือไม่
7. ถ้าดูดไม่ได้อาหารเหลว ให้ตรวจสอบเพื่อยืนยันว่าสายให้อาหารยังคงอยู่ในกระเพาะอาหาร
• ถ้าดูดได้อาหารมื้อก่อน( gastric content )เหลือมากกว่า 1/4 ให้เลื่อนเวลาอาหารเหลวมื้อนั้นออกไปอีก 1 ชม . และถ้าหลังจาก 1 ชม.ไปแล้ว gastric content ยังไม่ลดลงให้รายงานแพทย์ทราบเพื่อวางแผนการรักษาต่อ
8. เริ่มให้อาหารผู้ป่วยโดยถอดลูกสูบของ syringe ออก สวมปลาย syringe เข้ากับรูเปิดของสายอาหารให้แน่น ถือ syringe ให้อยู่ระดับเดียวกับกระเพาะอาหารผู้ป่วย ค่อยๆรินอาหารเหลวใส่ syringe ยก syringe ให้อยู่เหนือระดับกระเพาะเล็กน้อย หรือยกให้อยู่ในระดับที่อาหารเหลวไหลลงช้าๆ ไม่ควรเกิน 30 ml./min ไม่ควรถือ syringe สูงกว่ากระเพาะอาหารผู้ป่วยเกิน 1 ฟุตครึ่ง รินอาหารเติมลงใน syringe อย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันอากาศเข้ากระเพาะ
9. เมื่ออาหารเหลวปริมาตรสุดท้ายไหลออกเกือบหมด syringe ค่อยๆรินน้ำ 30 ml. ลงใน syringe และเมื่อน้ำไหลออกเกือบหมด syringe ให้ปฏิบัติดังนี้
• ถ้าไม่ต้องการให้ยาพร้อมอาหาร รินน้ำอีก 30 ml แล้วยก syringe ให้สูงให้น้ำไหลลงจนหมด syringe เพื่อล้างสายอาหาร
• ถ้าต้องการให้ยาพร้อมอาหารรินน้ำลงใน syringe ประมาณ 10 ml เทยาที่บดละเอียดแล้วลงใน syringe เขย่าเบาๆพร้อมยกขึ้นให้ยากับน้ำไหลลง ค่อยๆรินน้ำทีละน้อยลงใน syringe เพื่อล้าง syringe กับสายอาหารหลายๆครั้งจนไม่มียาเกาะติดข้าง syringe และไม่ควรใช้น้ำเกิน 50-60 ml.
• ถ้าเป็นยาหลังอาหาร ควรให้หลังอาหาร 1 ชม .
• ถ้ายาติดที่ปลาย syringe ไหลไม่ลงสวมจุกลูกสูบลงใน syringe พับสายอาหารไว้ ขณะเดียวกันเอียง syringe ไปมาเขย่าให้ยาหลุดออกจากปลาย syringe จากนั้นตั้ง syringe ตรงให้ยาไหลพร้อมกับเขย่า syringe ไปด้วย ไม่ควรใช้ลูกสูบดันเพราะจะทำให้จุกยางแน่นมากขึ้นหรือแรงดันอาจทำให้สายให้อาหารหลุดออกจากปลาย syringe
10. พับสายให้อาหาร ปลด syringe ออกจากสายให้อาหาร
11. เช็ดรูเปิดและด้านนอกของสายให้อาหารอีกครั้งด้วยสำลีชุบน้ำต้มสุก
12. ใช้จุกปิดรูเปิดสายให้อาหาร
13. จัดให้ผู้ป่วยนอนในท่าตะแคงขวาศีรษะสูง 45 องศา หรือท่านอนหงายอีก 30 min -1 hr.
14. บันทึกปริมาณอาหารเหลวและน้ำที่ผู้ป่วยได้รับปริมารอาหารที่เหลือค้าง(ถ้ามี)พร้อมกับสภาวะแทรกซ้อน
15. เก็บอุปกรณ์เครื่องใช้ไปทำความสะอาด
แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่อง : สายเอนกประสงค์ (Extension Tube) ยี่ห้อ BM2
เรื่องนี้ไม่อนุญาติ ให้แสดงความคิดเห็น