กระเป๋าพยาบาล (กระเป๋าเยี่ยมบ้าน)
กระเป๋าพยาบาล มี 4 แบบ
1.กระเป๋าพยาบาลแบบสะพายเล็ก ขนาด 6 x 12 x 8.5 นิ้ว 500.00 บาท
2.กระเป๋าพยาบาลแบบสะพายใหญ่ ขนาด 8.5 x 14 x 9.5 นิ้ว 700.00 บาท
3.กระเป๋าพยาบาลแบบหูหิ้วเล็ก มีรหัสล็อค ขนาด 8.5 x 12.5 x 8 นิ้ว ราคา 900.00 บาท
4.กระเป๋าพยาบาลแบบหูหิ้วใหญ่ มีรหัสล็อค ขนาด 8 x 14 x 9.5 นิ้ว ราคา 1100.00 บาท
ขั้นตอนในการเยี่ยมบ้าน และทักษะในการเยี่ยมบ้าน
ขั้นตอนการเยี่ยมบ้าน
1) ก่อนการเยี่ยม พยาบาลต้องมีการเตรียมตัวในด้านต่าง ๆ เช่น
- เป็นระยะของการวางแผนและกำหนดวัตถุประสงค์ในการเยี่ยม
- การทำความเข้าใจชุมชน โดยการศึกษาข้อมูลพื้นฐานทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม โครงสร้างชุมชน
- หาข้อมูลผู้รับบริการ จากแฟ้มประวัติการส่งต่อ จากประวัติครอบครัว (Family Folder) จากการซักถาม การสังเกต
- การเตรียมตัวของพยาบาล เช่นเตรียมความพร้อม เตรียมความรู้ เตรียมเวชภัณฑ์ อุปกรณ์ที่จำเป็น และกระเป๋าเยี่ยม
2) ขณะเยี่ยมบ้าน การเข้าเยี่ยม เริ่มต้นด้วยธรรมเนียมปฏิบัติที่ดี มีท่าทีที่อดทน การใช้ทักษะที่เหมาะสม ใช้ภาษาเข้าใจง่าย ควรคำนึงถึงธรรมเนียมที่ควรปฏิบัติ เช่น การขออนุญาต การให้ความเคารพ เกรงใจ ช่างสังเกต การตั้งคำถามให้เหมาะสม ขณะเดียวกันการให้บริการ ควรให้สอดคล้องกับความต้องการ มีความรู้ มีหลักการและเหตุผล รวมถึงการใช้กระเป๋าเยี่ยม ยึดหลักสะอาด ปลอดเชื้อ ป้องกันการติดเชื้อ มีความมั่นใจ
- นอกจากนั้นสำเริง แหยงกระโทก และ รุจิรา มังคละศริ(2545) ได้กล่าวว่าในขณะเยี่ยมผู้ให้บริการจำเป็นต้องมีทักษะในการสื่อสาร เพื่อสร้างสัมพันธภาพ แลทักษะอื่นๆ เพื่อให้เกิดบริการอย่างเป็นองค์รวม ในการเยี่ยมจะต้องมีการประเมินในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของผู้ป่วยและครอบครัว โดยมีแนวทางดังนี้ INHOMESSS5
- I = Immobility เป็นการประเมินว่าผู้ป่วยสามารถดูแลตัวเองได้หรือต้องอาศัยผู้อื่นในการดูแล
- N = Nutrition เพื่อภาวะด้านโภชนาการของผู้ป่วย เพราะอาหารส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยตรง เช่น ผู้สูงอายุทานข้าวไม่ได้ เด็กขาดสารอาหาร ผู้ป่วยเบาหวานคุมอาหารอย่างไร
- H = Home environment สภาพสิ่งแวดล้อมในบ้านและรอบบ้าน เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพผู้ป่วยและครอบครัว เช่น สภาพบ้านแออัด มีโรงงานอุตสาหกรรมใกล้บ้าน
- O = Other people สมาชิกในครอบครัวมีความสัมพันธ์กันอย่างไร เพื่อนบ้านมีการช่วยเหลือพึ่งพากันบ้างหรือไม่
- M = Medications การซักประวัติเรื่องยารวมถึงการใช้สมุนไพร ยาพื้นบ้าน ของผู้ป่วยมีความจำเป็นเพื่อประเมินเรื่องการใช้ยา การดูแลตนเองและการแสวงหาแหล่งพึ่งพาทางด้านสุขภาพของผู้ป่วย
- E = Examination การตรวจร่างกายขณะเยี่ยมบ้าน เช่น การวัดความดันโลหิตการดูแลแผลการตรวจมารดาและทารกหลังคลอดเพื่อประเมินผู้ป่วยในขณะนั้น
- S = Spiritual Health ความเชื่อ ทัศนคติ ค่านิยม วัฒนธรรม ประเพณีต่าง ๆ การค้นหาปัจจัยทางด้านจิตวิทยาสังคมที่มีต่อผู้ป่วยและครอบครัว ทำให้รู้จักและเข้าใจผู้ป่วยถึงพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยและครอบครัว
- S = Service การประเมินที่บ้านถึงบริการสุขภาพที่ผู้ป่วยได้รับนั้น ทำให้ทราบถึงความรู้สึกที่มีต่อระบบบริการและสะท้อนถึงบริการที่ให้แก่ผู้ป่วยและครอบครัว ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ป่วยและผู้ให้บริการเอง เพื่อปรับปรุงบริการให้มีคุณภาพและประชาชนเข้าถึงบริการยิ่งขึ้น
3) ระยะหลังการเยี่ยมบ้าน ภายหลังการเยี่ยมบ้านสำเริง แหยงกระโทก และ รุจิรา มังคละศริ(2545) กล่าวว่าต้องมีการนำข้อมูลที่ได้มาลงบันทึกในแบบฟอร์มการเยี่ยมบ้าน หรือใน Nurse’s note ใน
OPD Card เพื่อให้แพทย์และเพื่อนร่วมทีม ได้มีโอกาสรู้จักและเข้าใจผู้ป่วยและครอบครัวเพิ่มขึ้นด้วย การลงบันทึกโดยทั่วไปจะลงตามหัวข้อ ดังนี้
- S = Subjective ได้แก่ข้อมูลจากคำบอกเล่าของผู้ป่วย ญาติ และเพื่อนบ้าน ลงบันทึกย่อ ๆ ให้ครอบคลุมประเด็นทั้ง กาย จิต และสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่ง Idea Expectation และ Concern
- O = Objective ได้แก่ข้อมูลจากการตรวจพบและการสังเกต เช่น ผลการตรวจร่างกายท่าทีอวัจนะภาษาทั้งของผู้ป่วยและญาติรวมทั้งข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม
- A = Assessment คือ การประเมินปัญหาผู้ป่วยและครอบครัว ตามระดับของการดูแล
- P = Plam Management ซึ่งต้องให้ครอบคลุมการแก้ปัญหาที่ เบ็ดเสร็จ ผสมผสาน เป็นองค์รวมและต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมการดูแลตนเอง และการนำศักยภาพของครอบครัว และเครือข่ายทางสังคมมาใช้ให้เหมาะสมด้วย
หลังจากการเยี่ยมบ้านและลงบันทึกแล้ว ในการประชุมทีม หรือการประชุมวิชาการทุกครั้ง ควรนำเอาข้อมูลของผู้ป่วยและครอบครัวมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในที่ประชุมเป็นประจำ
การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลผู้ป่วยและครอบครัว มีการแบ่งการดูแลเป็นระดับ ดังนี้
ระดับบุคคล ( Individual)
: Case Approach เป็นการดูแลผู้ป่วยด้านชีวะการแพทย์ (Bio – Med)
: Holistic Approach (Whole person approach)
ระดับครอบครัว (Family)
: Family Oriented Care
: Family as a Unit
หลังการเยี่ยม ภายหลังการเยี่ยมต้องมีการทบทวน สรุปประเด็นให้ผู้รับบริการเข้าใจ มีการบันทึกและวางแผนงานครั้งต่อไปร่วมกัน และเมื่อเสร็จจากการเยี่ยมบ้าน พยาบาลต้องมีการสรุป วิเคราะห์ บันทึก ทำความสะอาดเครื่องมือ กระเป๋าเยี่ยม และวางแผนการทำงานในวันต่อไป
หลักในการจัดลำดับการเยี่ยมบ้าน (เรณู หาญวาฤทธิ์,2540)
- ความเร่งด่วนในการช่วยเหลือ เช่นหากล่าช้าจะเกิดอันตรายต่อผู้รับบริการ
- ทราบประวัติเจ็บป่วยแน่นอนและต้องการความช่วยเหลือ
- ต้องให้การพยาบาล
- มีอาการเจ็บป่วยไม่รุนแรง เช่นเป็นไข้หวัด
- เจ็บป่วยเรื้อรัง
- โรคติดต่อ
สำหรับกระบวนการพยาบาลในการเยี่ยมบ้าน อาศัยหลักของกระบวนการพยาบาล คือการประเมินผู้รับบริการ การวางแผนการพยาบาล การปฏิบัติการพยาบาล การประเมินผล
การนำกรอบคิดการพยาบาลไปใช้ โดยคำนึงถึง 4 องค์ประกอบหลัก คือ
- บุคคล โดยพิจารณาถึงภาวะการเจ็บป่วย ได้แก่ ป่วยเรื้อรัง พิการ มารดา-ทารก ผู้ป่วยระยะสุดท้าย
- สิ่งแวดล้อม ได้แก่ที่อยู่อาศัย ระบบครอบครัว แบบแผนการดำเนินชีวิต ระบบบริการสุขภาพ แหล่งประโยชน์ความเชื่อ ประวัติศาสตร์ชุมชน พันธมิตร
- สุขภาพ โดยการคำนึงถึงมิติด้านร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ
- การพยาบาล คำนึงถึงกระบวนการพยาบาล รวมทั้งการดูแลที่บ้าน
แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่อง : เครื่องฟังเสียงหัวใจทารกในครรภ์ แบบพกพารุ่น A100D
เรื่องนี้ไม่อนุญาติ ให้แสดงความคิดเห็น