เตียงตรวจนารีเวช PV (Gynecological Medical Bed) เตียงตรวจภายใน
- ขนาด 57 x 185 x 80 ซม.
- เตียงทำด้วยสแตนเลส 3 ตอนปรับระดับได้ พร้อมขาหยั่ง 1 คู่
- พื้นฟองน้ำหุ้มผ้าหนังเทียม
- รหัสสินค้า MZR-528
เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า
รุ่น MZM-FS3230W
แผลกดทับ คือ บริเวณเนื้อเยื่อหรือเซลล์ที่มีการตายเนื่องจากขาดเลือดไปเลี้ยง จากการถูกกดทับเป็นเวลานาน สำหรับส่วนที่พบแผลกดทับบ่อย คือ บริเวณเนื้อเยื่อหรือปุ่มกระดูก ที่พบส่วนมากคือบริเวณปุ่มกระดูกก้นกบ ตามตุ่ม และส้นเท้า เพราะโดยปกติทั่วไปเราจะชอบนอนหงาย แต่ที่มากที่สุด คือ บริเวณก้นกบสะโพก ต่อมาก็บริเวณสะบักทั้ง 2 ข้าง ส้นเท้าทั้ง 2 ข้าง และบริเวณท้ายทอย สำหรับแผลที่เกิดกับผู้ที่นอนหงาย แต่สำหรับผู้ที่นอนตะแคงแผลกดทับที่เกิด คือ บริเวณด้านข้างของศีรษะ ปุ่มกระดูกบริเวณหัวไหล่ บริเวณข้อศอก ต้นขา ข้างเข่าด้านนอกและ ตาตุ่ม
สะโพก เป็นส่วนที่มีความเสี่ยงที่สุดจากสถิติพบว่าผู้ป่วยที่ เป็นแผลกดทับ
วิธีป้องกันและรักษาแผลกดทับ
วันหยุดที่ผ่านมาดิฉันได้ไปเยี่ยมญาติซึ่งป่วยเป็นเบาหวานที่ ชั้น 11 ป้าป่วยเป็นเบาหวานมาหลายปีแล้ว เข้า รพ.ด้วยอาการช็อค วันที่ไปเยี่ยมป้านอน รพ.มาประมาณ 3-4 วัน เริ่มมีแผลกดทับ ซึ่งดิฉันค่อนข้างตกใจ เพราะทราบมาว่ารักษายากมาก โดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวาน แต่ลูกของป้าซึ่งเฝ้าไข้เขาบอกว่า ไม่มีปัญหาหรอกกลับไปบ้านก็หาย ซึ่งดิฉันซักเสียถี่ยิบว่าหายแน่หรือ เขาบอกว่าแน่ พร้อมยกตัวอย่างคนนั้น คนนี้ ในหมู่บ้าน สรุปได้ว่าหลังจากกลับไปบ้าน เขาจะนอนบน “ฟาก” ฟากคือแคร่ที่ทำด้วยไม้ไผ่ หรืออาจทำด้วยไม้หมาก ไม้หลาโอน หรือไม้อะไรก็ได้ที่เป็นซี่ๆ แต่ไม่ควรทา แลคเกอร์หรือวัสดุขัดเงา อื่นใด เอามากรองต่อกันให้เป็นแผ่นเหมือนในภาพ เขาบอกว่าวันเดียวก็แห้งแล้ว
กลับมาที่ทำงานดิฉันอดคิดต่อไม่ได้ เริ่มหาข้อมูลเพิ่มเติมจากอินเตอร์เน็ต เรื่องแผลกดทับ (เพราะแม่ก็เป็นเบาหวาน) ประมาณ 5-6 web เข้าไปเจอคำถามซ้ำๆ คือทำอย่างไรถึงจะหายซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ และคำตอบก็เหมือนๆกันเกือบทุก Web คือ หมั่นทำความสะอาด ไม่ให้เปียกชื้น ให้นอนเตียงลม เตียงน้ำ เบาะเจล ราคาตั้งแต่หลายพันไปจนถึงหมื่น
บริเวณที่อาจเกิดแผลกดทับ
ดิฉันจึงคิดต่อในรายละเอียดว่าแผลแห้งและหายได้อย่างไร ก็ได้ข้อสรุปตามสามัญสำนึกของคนไม่มีความรู้ด้านนี้ว่า
จึงมาคิดต่อว่ารูปแบบของแคร่โดยทั่วๆไป จะเป็นเหมือนแบบที่ 1 คือซี่ของแคร่วาง ตั้งฉากกับลำตัวเวลาพลิกตัวในแนวซ้ายขวาเนื้อบริเวณเดิมก็จะโดนกดทับอยู่อย่างเดิม นอกจากว่าเราจะเขยิบขึ้นลงจึงจะเปลี่ยนบริเวณที่โดนกดทับ จึงมีแนวคิดทำแคร่ในรูปแบบตามแบบที่ 2 เพื่อจะแก้ปัญหาแผลโดนกดทับที่เดิมเวลาพลิกตัว เพราะซี่ของแคร่วางในแนวเฉียง เวลาคนไข้พลิกตัวบริเวณเดิมที่โดนกดทับอาจมาตรงกับบริเวณช่องว่างของแคร่ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นไม่โดนกดทับ สลับกันอยู่อย่างนี้ ทุกครั้งที่คนไข้พลิกตัว แผลจึงหายเร็วขึ้น
ใครมีประสบการณ์เรื่องแผลกดทับเล่าสู่กันฟังบ้างนะคะ
สงวนลิขสิทธิ์ © 2021 THAITHEME.COM. All Rights Reserved. Webdesign by THAITHEME.COM.
แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่อง : เตียงตรวจนารีเวช PV (Gynecological Medical Bed)
เรื่องนี้ไม่อนุญาติ ให้แสดงความคิดเห็น